☆ สาระ-น่ารู้

“มะเร็งลำไส้ใหญ่” มัจจุราชร้ายทำลายชีวิตคุณ แพทย์แนะปรับพฤติกรรม

พบแนวโน้มคนไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพิ่มขึ้น 2.4เท่า ในรอบ10ปี แพทย์เผย 3 สาเหตุ”พันธุกรรม-พฤติกรรม-โรค”

“มะเร็งลำไส้ใหญ่” โรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดโรคหนึ่ง แต่รู้ไหมว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่ป้องกันได้หากเรารู้สัญญาณ การสังเกตอาการ และวิธีป้องกันตัวเอง เพราะสาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากกรรมพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งแล้ว พฤติกรรมการทานอาหารของคนเราก็คือสาเหตุหลักของมะเร็งลำไส้ใหญ่

Thaihealth Watch ได้รายงานสถานการณ์สุขภาพคนไทยพบว่า คนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคลำไส้ใหญ่ 10 ปีย้อนหลังเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า โดยเฉพาะคนในเขตเมืองอย่างกรุงเทพมหานคร

และภาคกลางที่มีสัดส่วนการเสียชีวิตสูงที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต

ขณะที่ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการและผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า จากข้อมูลของ Thaihealth Watch ร่วมกับสำนักงานระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ซึ่งได้รวบรวมสถิติสถานการณ์สุขภาพคนไทย 10 ปีย้อนหลังรายเขตสุขภาพ ระหว่างปี 2552 – 2561 พบข้อมูลที่น่าสนใจคือ คนไทยมีแนวโน้มเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้น 2.4 เท่าทั้งเพศหญิงและชาย

โดยในปี 2552 อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ในเพศชาย อยู่ที่ 3.6 คนต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นเป็น 8.9 คนต่อแสนประชากรในปี 2561 เช่นเดียวกับเพศหญิง ในปี 2552 อยู่ที่ 2.8 คนต่อแสนประชากร เพิ่มขึ้นเป็น 6.7 คนต่อแสนประชากรในปี 2561

ที่น่าสนใจคือคนในเขตเมืองมีแนวโน้มเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้สูงขึ้น โดยเฉพาะในเขตกทม.ที่มีจำนวนมากที่สุด 15.1 คนต่อแสนประชากร ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 1.9 เท่าในรอบ 10 ปี ตามด้วยภาคกลาง 10.2 คนต่อแสนประชากร ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 2.4 เท่า

ขณะที่ รศ.นพ.ม.ล.ทยา กิติยากร อาจารย์หน่วยโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากความผิดปกติของผนังลำไส้ใหญ่ที่เกิดได้ทั่วไปในคนธรรมดา แต่มี 3 สาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค คือ

1. พันธุกรรม เช่น มียีนผิดปกติตั้งแต่เกิด หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็ง

2. พฤติกรรม เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย และการกินอาหารบางชนิด

3. โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่งอัตราการเสียชีวิตด้วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ของคนไทยที่เพิ่มขึ้น 2.4 เท่าตัวนั้นมาจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมากกว่าพันธุกรรม ทางตะวันตกมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งลำไส้มากกว่าประเทศไทย

แต่สำหรับประเทศไทยที่พบแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเขตเมืองน่าจะมาจากพฤติกรรมที่คล้ายกับทางตะวันตกมากขึ้นโดยเฉพาะการกินอาหารที่มีผักน้อย เน้นเนื้อและมีไขมันสูง รวมถึงภาวะอ้วนก็เพิ่มความเสี่ยง ซึ่งมีข้อมูลที่ชัดเจนจากหลายงานวิจัยพบว่า การทานผักจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรลดการกินเนื้อแดง เนื้อปิ้งย่างที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรค

สัญญาณเตือน “มะเร็งลำไส้ใหญ่”

-น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะรับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิม

-ลักษณะของอุจจาระเปลี่ยนไป อาจมีขนาดเล็กลง หรือมีเลือดออกมาปะปนด้วย

-ท้องผูก และท้องเสียสลับกันบ่อยผิดปกติ หรืออาจมีอาการท้องผูกเรื้อรัง

-ท้องอืด ท้องเฟ้อ บ่อยผิดปกติ และมักมีอาการปวดบริเวณท้องช่วงล่าง

-คลื่นไส้ อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เพราะเมื่อมีก้อนเนื้ออยู่ในลำไส้ การทำงานของลำไส้จะช้าลง ส่งผลให้ไม่รู้สึกหิว

-เกิดอาการอ่อนเพลียผิดปกติ เพราะการสูญเสียเลือดจากการที่มีเลือดออกในลำไส้เนื่องจากเนื้องอก จะส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลีย ซึ่งถ้าหากเสียเลือดมากเกินไปอาจถึงขั้นช็อกได้

-โลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ

การตรวจวินิจฉัย

จากการซักประวัติและตรวจร่างกายรวมถึงการตรวจโดยการใช้นิ้วตรวจทางทวารหนัก ร่วมกับการใช้อุปกรณ์กล้องขนาดสั้น เรียกว่า Proctoscope เพื่อตรวจดูว่ามีก้อนเนื้อแปลกปลอมอะไรหรือไม่

ตรวจหาเลือดในอุจจาระ นำตัวอย่างอุจจาระที่ได้ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งถ้าหากมีเลือดปนอยู่ในอุจจาระก็แปลว่าภายในระบบทางเดินอาหารอาจมีเลือดออก แพทย์ก็จะส่งตัวให้ไปทำการตรวจอย่างละเอียดในขั้นต่อไป

การส่องกล้อง เพื่อตรวจวินิจฉัยเพื่อตรวจดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด เรียกว่า Colonoscopy

การกลืนสีหรือแป้ง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถตรวจหาก้อนเนื้อได้ก็คือการกลืนสารทึบรังสี แล้วเอกซเรย์เพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ หากพบความผิดปกติของลำไส้หลังจากเอกซเรย์ หรือขณะที่กำลังส่องกล้อง แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจว่าเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ถ้าหากใช่แพทย์ก็จะวางแผนสำหรับการรักษาต่อไป

การรักษา

1. การผ่าตัดถือเป็นวิธีการรักษาเบื้องต้นของโรคมะเร็ง โดยแพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อมะเร็งออกโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจาย ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกจะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว โดยจะผ่าตัดนำลำไส้ส่วนที่เสียออกแล้วนำลำไส้ที่เหลือมาต่อกัน แต่ถ้าหากส่วนที่เป็นมะเร็งนั้นอยู่ใกล้ทวารหนักก็อาจมีการตัดทวารหนักทิ้ง และให้ผู้ป่วยใช้การอุจจาระผ่านทางหน้าท้อง จากนั้นแพทย์ก็จะทำการติดตามผลอย่างใกล้ชิดจนมั่นใจว่าจะไม่มีการกลับมาเป็นซ้ำอีก แต่ถ้าหากผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ 2 ขึ้นไป ก็จะเพิ่มการรักษาด้วยรังสีหรือเคมีบำบัดตามมาหลังการผ่าตัดด้วยเพื่อให้ ทำลายเซลล์มะเร็งให้หมด ไม่ให้หลงเหลือจนเกิดมะเร็งซ้ำ

2. รังสีรักษาเป็นการรักษาที่ใช้รังสีทำลายเซลล์มะเร็งในบริเวณที่เกิดโรค วิธีนี้สามารถลดขนาดของก้อนเนื้อมะเร็ง และทำลายเซลล์มะเร็งได้เกือบทั้งหมด ทำให้สามารถผ่าตัดได้ง่ายขึ้น โดยการใช้รังสีรักษาจะทำได้ทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด แต่ปัจจุบันนี้แพทย์นิยมให้ใช้การรักษาด้วยรังสีก่อนการผ่าตัด เนื่องจากได้ผลที่ดีกว่า แต่การให้รังสีหลังผ่าตัดก็สามารถป้องกันการเกิดซ้ำของโรค และลดการนำลำไส้มาเปิดไว้ที่หน้าท้องได้เช่นกัน

3. เคมีบำบัด การรักษาด้วยวิธีนี้จะใช้ร่วมกับการผ่าตัด โดยผู้ป่วยหลังจากได้รับการผ่าตัดแล้วก็จะต้องได้รับยาเคมีบำบัดเพิ่มเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่หลงเหลืออยู่ ทั้งนี้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาแบบนี้จะต้องเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะที่ 2 เป็นต้นไป หรือมีก้อนมะเร็งขนาดใหญ่ การใช้เคมีบำบัดสามารถเพิ่มโอกาสรอดของผู้ป่วยได้มากเลยทีเดียว ขณะที่ในบางรายที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษาด้วยเคมีบำบัดก็จะกลายเป็นการรักษาหลัก เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจาย ลดความทรมานจากมะเร็ง แต่จะไม่สามารถทำให้หายขาดได้

อย่างไรก็ตามนอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองให้เสี่ยงน้อยลง ด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่รับประทานอาหารเนื้อแดง อาหารแปรรูป และออกกำลังกายสม่ำเสมอแล้ว การตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีจะมีส่วนช่วยเราได้มากขึ้น โดยเฉพาะการตรวจเฉพาะทางอย่างการเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยการส่องกล้อง หรือ Colonoscopy จะมีส่วนช่วยเราให้ปลอดภัยได้มากขึ้น เพราะหากตรวจพบเจอเนื้องอกเร็ว การตัดทิ้งก่อนที่จะลุกลามเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็จะทำให้เราปลอดภัยได้มากกว่า

ขอขอบคุณข้อมูลสุขภาพจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพ ,Thaihealth Watch,สสส.

บทความต้นฉบับ

“มะเร็งลำไส้ใหญ่” มัจจุราชร้ายทำลายชีวิตคุณ แพทย์แนะปรับพฤติกรรม

admin

Recent Posts

อัตตชีวประวัติ “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ… อ่านเพิ่มเติม..

5 days ago

วันดื่มไวน์แห่งชาติ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ของทุกปี เขาถือว่าเป็น "วันดื่มไวน์แห่งชาติ" (National Drink Wine Day) วันสำคัญเพื่อเฉลิมฉลอง ผ่อนคลายให้กับเครื่องดื่มที่สุดแสนละมุนนี้ เตรียมตัวเฉลิมฉลอง มนุษย์ได้เพลิดเพลินกับไวน์มาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ความคล้ายคลึงตามธรรมชาติของเครื่องดื่มนี้ไม่เพียงเพราะมีรสชาติที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะคุณค่าทางโภชนาการและผลต่อจิตประสาท… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

เชิญร่วมสักการะ “พระบรมสารีริกธาตุ “พระอรหันตธาตุ ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จ.กระบี่ 15–18 มี.ค.67

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน เข้าสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของ พระสารีบุตร และโมคคัลนะ อัญเชิญประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 15 – 18… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

พระฉันนะ ผู้ว่ายากสอนยากกลายเป็นพระสงฆ์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด

ท่านพระฉันนะ เป็นผู้ที่เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า เป็นสหชาติทั้ง ๗ คือเป็น ๑ ใน ๗ ที่เกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า เติบโตมาด้วยกัน และก็เป็นสหายเพื่อนเล่น และก็ทำหน้าที่คอยรับใช้พระโพธิสัตว์มาตลอด ในวันที่พระโพธิสัตว์ออกมหาภิเนษกรมณ์ คือออกบวช นายฉันนะก็ติดตามไปด้วย… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะวิธีตั้งค่า iPhone เพื่อป้องกันแอปฯ ดูดเงิน

ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท. ออกมาเตือนภัย คนใช้ iPhone ต้องอ่าน ‼️ ⚙️วิธีตั้งค่าเพื่อป้องกันแอปฯ ดูดเงิน 📱ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ 2 ขั้นตอน… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

ข่าวดี! พบ นกกระเรียนพันธุ์ไทย จับคู่ทำรังวางไข่ 5 คู่ หลังจากสูญพันธุ์ไป 50 ปี

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน แจ้งข่าวดี! พบ นกกระเรียนพันธุ์ไทย จับคู่ทำรังวางไข่ 5 คู่ หลังจากสูญพันธุ์ไป 50 ปี เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน ระบุ "ฤกษ์งามยามดี เดือนมกราคม ปี… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

This website uses cookies.