สะพานข้ามทะเลสาบพัทลุง-สงขลา ความหวังของชาวพัทลุง และ ชาวจังหวัดสงขลา

สะพานข้ามทะเลสาบพัทลุง-สงขลา ความหวังของชาวพัทลุง และ ชาวจังหวัดสงขลา ลดระยะเวลาการเดินทาง ส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวในอนาคต

นายเผชิญ คงทุง ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพัทลุง ระบุถึงโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบพัทลุง-สงขลา จาก ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ไปยัง ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา กับ ว่า ปัจจุบันการเดินทางจากจังหวัดพัทลุง ไปยังจังหวัดสงขลามีปริมาณยานพาหนะที่เดินทางระหว่าง 2 จังหวัดเป็นจำนวนมาก โดยใช้ถนนเลียบทะเลสาบสงขลา ที่มีระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง หรือ การโดยสารโดยใช้แพขนานยนต์ ซึ่งมีความความล่าช้า

และกีดขวางการเดินเรือบริเวณปากน้ำทะเลสาบ ทำให้กรมทางหลวงชนบท ได้รับการขอสนับสนุนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบ เชื่อมพื้นที่ระหว่าง ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง กับ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ตามความต้องการของพี่น้องประชาชน และผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ทั้ง 2 จังหวัด

ทั้งนี้ การสร้างก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบ จะเป็นการเชื่อมโยงพื้นที่สองฝั่ง สามารถลดระยะเวลาการเดินทาง จากประมาณ 2 ชั่วโมง เหลือเพียงแค่ 15-20 นาที และ ร่นระยะทางการเดินทางจากประมาณ 90 กิโลเมตร เหลือ ประมาณ 7 กิโลเมตรเท่านั้น

พร้อมทั้งช่วยบรรเทาปริมาณการจราจรของถนนสายหลัก และแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดบริเวณทางแยกระหว่างอำเภอ และระหว่างจังหวัด / เชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่ง ระหว่างถนนสายหลัก คือ ทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม และ ทางหลวงหมายเลข 408 ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงข่ายระบบถนน เชื่อมต่อระหว่าง จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสงขลา ในแนวตะวันออก ถึง ตะวันตกได้อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในอนาคต

นอกจากนี้ จะเป็นการช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่โดยรอบทะเลสาบสงขลา ที่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ วัฒนธรรม ประเพณี และประวัติศาสตร์ โบราณคดี ทำให้เศรษฐกิจของชุมชนเข้มแข็งมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากขึ้น

นายเผชิญ คงทุง ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทพัทลุง ระบุว่า นอกจากการสร้างสะพานข้ามทะเลสาบ พัทลุง-สงขลา แล้ว ทางแขวงทางหลวงพัทลุง และ แขวงทางหลวงชนบทพัทลุง ได้วางแผนในการพัฒนา ปรับปรุง ขยายเส้นทางคมนาคม ที่จะเชื่อมต่อกับสะพานข้ามทะเลสาบด้วย เพื่อความสะดวก และ ปลอดภัยของประชาชน

ทั้งนี้ ในวันที่ 13 พ.ย. นี้ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะลงพื้นที่ เพื่อตรวจราชการโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาอีกด้วย

แหล่งข้อมูล : สวท.พัทลุง กรมประชาสัมพันธ์

admin

Recent Posts

อัตตชีวประวัติ “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ… อ่านเพิ่มเติม..

2 weeks ago

วันดื่มไวน์แห่งชาติ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ของทุกปี เขาถือว่าเป็น "วันดื่มไวน์แห่งชาติ" (National Drink Wine Day) วันสำคัญเพื่อเฉลิมฉลอง ผ่อนคลายให้กับเครื่องดื่มที่สุดแสนละมุนนี้ เตรียมตัวเฉลิมฉลอง มนุษย์ได้เพลิดเพลินกับไวน์มาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ความคล้ายคลึงตามธรรมชาติของเครื่องดื่มนี้ไม่เพียงเพราะมีรสชาติที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะคุณค่าทางโภชนาการและผลต่อจิตประสาท… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

เชิญร่วมสักการะ “พระบรมสารีริกธาตุ “พระอรหันตธาตุ ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จ.กระบี่ 15–18 มี.ค.67

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน เข้าสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของ พระสารีบุตร และโมคคัลนะ อัญเชิญประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 15 – 18… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

พระฉันนะ ผู้ว่ายากสอนยากกลายเป็นพระสงฆ์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด

ท่านพระฉันนะ เป็นผู้ที่เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า เป็นสหชาติทั้ง ๗ คือเป็น ๑ ใน ๗ ที่เกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า เติบโตมาด้วยกัน และก็เป็นสหายเพื่อนเล่น และก็ทำหน้าที่คอยรับใช้พระโพธิสัตว์มาตลอด ในวันที่พระโพธิสัตว์ออกมหาภิเนษกรมณ์ คือออกบวช นายฉันนะก็ติดตามไปด้วย… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะวิธีตั้งค่า iPhone เพื่อป้องกันแอปฯ ดูดเงิน

ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท. ออกมาเตือนภัย คนใช้ iPhone ต้องอ่าน ‼️ ⚙️วิธีตั้งค่าเพื่อป้องกันแอปฯ ดูดเงิน 📱ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ 2 ขั้นตอน… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

ข่าวดี! พบ นกกระเรียนพันธุ์ไทย จับคู่ทำรังวางไข่ 5 คู่ หลังจากสูญพันธุ์ไป 50 ปี

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน แจ้งข่าวดี! พบ นกกระเรียนพันธุ์ไทย จับคู่ทำรังวางไข่ 5 คู่ หลังจากสูญพันธุ์ไป 50 ปี เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน ระบุ "ฤกษ์งามยามดี เดือนมกราคม ปี… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

This website uses cookies.