⌘ พระเกจิอาจารย์

พ่อท่านกล่ำ ถาวโร “พระครูวิสุทธิจารี” วัดวิสุทธิยาราม (ศาลาบางปู) นครศรีธรรมราช

พ่อท่านกล่ำ ถาวโร วัดวิสุทธิยาราม (ศาลาบางปู) นครศรีธรรมราช เป็นอริยสงฆ์เป็นพระสงฆ์ที่ให้ เป็นผู้ให้กำเนิดยันต์ราหูแปดทิศที่ทรงอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์  ต้นแบบให้กับวัตถุมงคลของหลักเมืองนครศรีธรรมราชที่มีความโด่งดังไปทั่วประเทศ

ผู้ก่อตั้งวัดวิสุธิยารามให้เป็นอารามได้ ทั้งพระสงฆ์และญาติโยมได้ประกอบศาสนกิจ ในทางพระพุทธศาสนา ได้ฉายาว่า “พระครูวิสุทธิจารี” ถือพรรมจรรย์ เพราะบวชเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร อุปสมบท ณ วัดจันพอ นครศรีธรรมราช แล้วบูรณะวัดชะเมาซึ่งสมัยนั้นเป็นวัดร้าง มาเป็นวัดที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน แล้วมาก่อตั้งวัดวิสุทธิยาราม (ศาลาบางปู) นครศรีธรรมราช เมื่อปี ๒๔๙๗

ประวัติ พระครูวิสุทธิจารี (พ่อท่านกล่ำ) วัดวิสุทธิยาราม (วัดศาลาบางปู)

พ่อท่านกล่ำ ท่านเกิดวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ในปี พ.ศ.๒๔๓๕ ทวดชื่อ ขุนหลวง จารเรก ปู่ชื่อ ขุนศรี ย่าชื่อ นางอิ่ม โยมบิดาชื่อ นายหนูครุฑ โยมมารดาชื่อ นางแป้น คีรีนาถ โยมบิดา นายหนูครุฑ มีภรรยา ๔ คน และมีบุตรธิดา ๑๒ คน พ่อท่านกล่ำ เป็นบุตรคนเดียวของ โยมมารดาแป้น คีรีนนาถ  บ้านเดิมอยู่บ้านดวด (ลายสาย) พระ ครูวิสุทธิจารี บวชสามเณรที่วัดจันพอ ท่านเคยได้รับพระราชทินนาม “พระครูวิสุทธิจารี” ซึ่งแปลว่า ผู้รักษาซึ่งพรหมจรรย์ อันเป็นราชทินนามตกทอดมาจาก พระครูวิสุทธิจารี (พ่อท่านพุ่มเฒ่า) หรือที่รู้จักกันในนาม พ่อท่านพุ่ม วัดจันพอ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ พระครูวิสุทธิจารี (พ่อท่านกล่ำ)

วิสุทธิ หมายความว่า บริสุทธิ์
จารี หมายความว่า ผู้ประพฤติ

แปลอย่างตรงไปตรงมาก็คือ ผู้ประพฤติที่บริสุทธิ์ เป็นการยกย่องและสื่อความหมายว่า ท่านมีวัตรปฏิบัติที่บริสุทธิ์ ทั้งในทางโลกและทางธรรม มีความเคร่งครัดในศีล ซึ่งการจะปฏิบัติเช่นนี้ได้ตั้งแต่เด็กตลอดจนสิ้นอายุขัย ต้องเป็นผู้ที่ละวางกิเลสได้มากจนถึงหมดสิ้นซึ่งกิเลส

พระครูวิสุทธิจารี (พ่อท่านกล่ำ) ต่อมาเมื่อปี ๒๔๙๗ ได้จัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ที่บ้านศาลาบางปู จนได้รับพระราชทาน พัทเสมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ พระครูวิสุทธิจารี  ได้พัฒนา สร้างเสนาสนะ ร่วมกับญาติโยม ตลอดจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๑ พระครูวิสุทธิจารี ได้มรณภาพลง ขณะอายุได้ ๙๖ ปี เป็นวันเดียวกับที่ท่านเกิดในทางจันทรคติ คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒

ซึ่งในปัจจุบันสรีรสังขารของพระครูวิสุทธิจารี ซึ่งเส้นเกศา หรืออวัยวะอื่น ๆ ก็ยังคงอยู่ในสภาพเดิม ยังคงเก็บอยู่ในมณฑป วัดวิสุทธิยาราม หมู่ที่ ๑๐ ถนนนครฯ-ท่าศาลา ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 – ขอบคุณเจ้าของภาพ/ข้อมูล … สาธุ สาธุ สาธุ

admin

Recent Posts

อัตตชีวประวัติ “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ… อ่านเพิ่มเติม..

6 hours ago

วันดื่มไวน์แห่งชาติ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ของทุกปี เขาถือว่าเป็น "วันดื่มไวน์แห่งชาติ" (National Drink Wine Day) วันสำคัญเพื่อเฉลิมฉลอง ผ่อนคลายให้กับเครื่องดื่มที่สุดแสนละมุนนี้ เตรียมตัวเฉลิมฉลอง มนุษย์ได้เพลิดเพลินกับไวน์มาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ความคล้ายคลึงตามธรรมชาติของเครื่องดื่มนี้ไม่เพียงเพราะมีรสชาติที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะคุณค่าทางโภชนาการและผลต่อจิตประสาท… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

เชิญร่วมสักการะ “พระบรมสารีริกธาตุ “พระอรหันตธาตุ ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จ.กระบี่ 15–18 มี.ค.67

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน เข้าสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของ พระสารีบุตร และโมคคัลนะ อัญเชิญประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 15 – 18… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

พระฉันนะ ผู้ว่ายากสอนยากกลายเป็นพระสงฆ์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด

ท่านพระฉันนะ เป็นผู้ที่เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า เป็นสหชาติทั้ง ๗ คือเป็น ๑ ใน ๗ ที่เกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า เติบโตมาด้วยกัน และก็เป็นสหายเพื่อนเล่น และก็ทำหน้าที่คอยรับใช้พระโพธิสัตว์มาตลอด ในวันที่พระโพธิสัตว์ออกมหาภิเนษกรมณ์ คือออกบวช นายฉันนะก็ติดตามไปด้วย… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะวิธีตั้งค่า iPhone เพื่อป้องกันแอปฯ ดูดเงิน

ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท. ออกมาเตือนภัย คนใช้ iPhone ต้องอ่าน ‼️ ⚙️วิธีตั้งค่าเพื่อป้องกันแอปฯ ดูดเงิน 📱ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ 2 ขั้นตอน… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

ข่าวดี! พบ นกกระเรียนพันธุ์ไทย จับคู่ทำรังวางไข่ 5 คู่ หลังจากสูญพันธุ์ไป 50 ปี

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน แจ้งข่าวดี! พบ นกกระเรียนพันธุ์ไทย จับคู่ทำรังวางไข่ 5 คู่ หลังจากสูญพันธุ์ไป 50 ปี เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน ระบุ "ฤกษ์งามยามดี เดือนมกราคม ปี… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

This website uses cookies.