ครั้งแรกของโลก!! ม.มหิดล วิจัยคุณสมบัติทางยาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” หวังพิชิต โควิด-มะเร็ง

27 พ.ค.- มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งวิจัยศึกษาคุณสมบัติทางยาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” (Varanus salvator) หวังพิชิตมะเร็ง, โควิด-19 และโรคอุบัติใหม่ ครั้งแรกของโลก

รานงานการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์จิตรกมล ธนศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิจัยศึกษาคุณสมบัติทางยาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” เพื่อดูฤทธิ์การยับยั้งเซลล์มะเร็ง แบคทีเรีย และไวรัสก่อโรคอุบัติใหม่ รวมทั้ง COVID-19 ซึ่งหากบรรลุผลได้ตามเป้าหมายจะกลายเป็นรายแรกของโลก

สมมุติฐานสำคัญ คือ ทำไม “ตัวเงินตัวทอง” ถึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้จากการกินซากสิ่งมีชีวิต และแม้ในน้ำเน่าเสีย จึงเริ่มศึกษาถึงระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของสัตว์เลื้อยคลานซึ่งอยู่ในประเภทสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดนี้ การเก็บตัวอย่างเลือดจาก “ตัวเงินตัวทอง” ที่มีลักษณะสมบูรณ์มาศึกษาทางโปรตีน ในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เลือดตัวอย่างเพียงเล็กน้อย ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ตลอดจนเชื้อแบคทีเรียบางชนิด รวมถึงอาจต่อยอดเพื่อศึกษาการยับยั้งเชื้อไวรัส ซึ่งรวมถึงโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ได้อีกด้วย

“ในขณะที่โลกมีการคิดค้นวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างแพร่หลาย แต่การรักษายังคงเป็นไปตามอาการ ไม่มียาใดที่ใช้รักษาได้โดยตรง ในบางกรณีก็อาจรักษาโดยใช้ยาต้าน HIV ซึ่งก็ไม่ได้ผลในผู้ป่วยบางราย หากสามารถพัฒนายาใหม่ขึ้นมาได้ ก็จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาที่จะเพิ่มความหวังให้กับมวลมนุษยชาติได้” รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์จิตรกมล ธนศักดิ์ กล่าว

อย่างไรก็ดี แม้ “ตัวเงินตัวทอง” กำลังใกล้สูญพันธุ์จากการถูกล่า จนได้รับการคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และล่าสุดกำลังมีการผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่จะทำให้ “ตัวเงินตัวทอง” กลายเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่อนุญาตให้เพาะพันธุ์เชิงเศรษฐกิจ

ก้าวต่อไปในงานวิจัยชิ้นนี้ คือ การพัฒนายาจากเลือด “ตัวเงินตัวทอง” เพื่อพิชิตนานาโรคร้ายที่กำลังเป็นปัญหาของมนุษย์ คือ การพิสูจน์ให้มั่นใจได้ว่านอกจากสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็ง และแบคทีเรียบางชนิดแล้ว จะไม่ส่งผลข้างเคียงต่อเซลล์ปกติในร่างกายมนุษย์ ก่อนจะดำเนินการยื่นจดสิทธิบัตรให้แล้วเสร็จในเบื้องต้นภายในปลายปี 2564 นี้ ก่อนเดินหน้าศึกษาวิจัยต่อยอดเกี่ยวกับฤทธิ์ต้านไวรัสที่ครอบคลุม 3 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ โดยเริ่มจากไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก และโควิด-19 ต่อไป. -สำนักข่าวไทย

admin

Recent Posts

อัตตชีวประวัติ “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ มีชาติกำเนิดในสกุล “หนูศรี” เดิม ชื่อ ดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๗ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ… อ่านเพิ่มเติม..

2 weeks ago

วันดื่มไวน์แห่งชาติ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ของทุกปี เขาถือว่าเป็น "วันดื่มไวน์แห่งชาติ" (National Drink Wine Day) วันสำคัญเพื่อเฉลิมฉลอง ผ่อนคลายให้กับเครื่องดื่มที่สุดแสนละมุนนี้ เตรียมตัวเฉลิมฉลอง มนุษย์ได้เพลิดเพลินกับไวน์มาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ความคล้ายคลึงตามธรรมชาติของเครื่องดื่มนี้ไม่เพียงเพราะมีรสชาติที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะคุณค่าทางโภชนาการและผลต่อจิตประสาท… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

เชิญร่วมสักการะ “พระบรมสารีริกธาตุ “พระอรหันตธาตุ ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จ.กระบี่ 15–18 มี.ค.67

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน เข้าสักการะ พระบรมสารีริกธาตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตธาตุของ พระสารีบุตร และโมคคัลนะ อัญเชิญประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ วัดมหาธาตุวชิรมงคล จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 15 – 18… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

พระฉันนะ ผู้ว่ายากสอนยากกลายเป็นพระสงฆ์ ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด

ท่านพระฉันนะ เป็นผู้ที่เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า เป็นสหชาติทั้ง ๗ คือเป็น ๑ ใน ๗ ที่เกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้า เติบโตมาด้วยกัน และก็เป็นสหายเพื่อนเล่น และก็ทำหน้าที่คอยรับใช้พระโพธิสัตว์มาตลอด ในวันที่พระโพธิสัตว์ออกมหาภิเนษกรมณ์ คือออกบวช นายฉันนะก็ติดตามไปด้วย… อ่านเพิ่มเติม..

3 months ago

ตำรวจไซเบอร์ แนะวิธีตั้งค่า iPhone เพื่อป้องกันแอปฯ ดูดเงิน

ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท. ออกมาเตือนภัย คนใช้ iPhone ต้องอ่าน ‼️ ⚙️วิธีตั้งค่าเพื่อป้องกันแอปฯ ดูดเงิน 📱ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ 2 ขั้นตอน… อ่านเพิ่มเติม..

4 months ago

ข่าวดี! พบ นกกระเรียนพันธุ์ไทย จับคู่ทำรังวางไข่ 5 คู่ หลังจากสูญพันธุ์ไป 50 ปี

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน แจ้งข่าวดี! พบ นกกระเรียนพันธุ์ไทย จับคู่ทำรังวางไข่ 5 คู่ หลังจากสูญพันธุ์ไป 50 ปี เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำสนามบิน ระบุ "ฤกษ์งามยามดี เดือนมกราคม ปี… อ่านเพิ่มเติม..

4 months ago

This website uses cookies.