๑๗ เมษายน น้อมรำลึก วันพระราชสมภพพระเจ้าตากสิน และวันคล้ายวันเกิด “สมเด็จโต”

4207
views

วันที่ ๑๗ เมษายน มีบุคคลสำคัญ ๒ ท่านของประเทศไทยที่เกิดพร้อมกันในวันนี้ คือ

๑ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า “สิน”  พระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีขาล ฉศก จุลศักราช ๑๐๙๖ ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา

เมื่อยังทรงพระเยาว์เจ้าพระยาจักรีได้ขอสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไปเลี้ยงเป็น บุตรบุญธรรม และได้ตั้งชื่อพระองค์ท่านว่า สิน พอนายสินอายุได้ ๙ ขวบ เจ้าพระยาจักรีก็นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส ครั้นอายุได้ ๑๓ ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำนายสินเข้าถวายตัวรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวบรมโกศ ตามประเพณีของการรับราชการในสมัยนั้น

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ในระหว่างรับราชการเป็นมหาดเล็กนายสินได้พยายามศึกษาหาความรู้ทางด้านภาษาต่าง ประเทศหลายภาษา มีภาษาจีน ภาษาญวน และภาษาแขก จนสามารถพูดได้สามภาษาอย่างชำนิชำนาญ

ครั้นนายสินอายุได้ ๒๑ ปี เจ้าพระยาจักรีได้ประกอบการอุปสมบทนายสินเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ในสำนัก อาจารย์ทองดี ณ วัดโกษาวาส ( ปัจจุบันคือวัดเชิงท่า ) นายสินอุปสมบทอยู่ ๓ พรรษา แล้วก็ลาสิกขาบทกลับมาเข้ารับราชการตามเดิม เนื่องจากนายสินเป็นผู้ฉลาดรอบรู้ขนบธรรมเนียมราชกิจต่าง ๆ โดยมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายสินเป็นมหาดเล็กรายงาน ด้วยราชการทั้งหลายในกรมมหาดไทย และกรมวังศาลหลวง

พ.ศ. ๒๓๐๑ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพรเสด็จเสวยราชสมบัติได้ ๓ เดือนเศษ ก็ถวายสิริราชสมบัติแก่สมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้นายสินมหาดเล็กรายงานเป็นข้าหลวงเชิญท้องตราพระราชสีห์ขึ้นไปชำระความหัว เมืองฝ่ายเหนือ ซึ่งนายสินได้ปฏิบัติราชการด้วยความวิริยะอุตสาหะและมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ช่วยราชการอยู่กับพระยาตาก ครั้นเมื่อพระยาตากถึงแก่กรรมลงก็ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนหลวงยกกระบัตร (สิน) เป็นพระยาตาก ปกครองเมืองตากแทน

พ.ศ. ๒๓๐๘ พระยาตาก (สิน) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เข้ามาช่วยราชการสงครามเพื่อป้องกันพม่าในกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) มีฝีมือการรบป้องกันพระนครอย่างเข้มแข็งมีความดีความชอบมาก จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น พระยาวชิรปราการ (สิน) สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชรแทนเจ้าเมืองเดิมที่ถึงแก่กรรม

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในเดือนเมษายน พระยาตากก็สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนได้ แล้วก็คิดจะปฏิสังขรณ์กรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีใหม่ แต่เมื่อได้ตรวจความเสียหายแล้วเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาได้รับความเสียหายเป็น อันมากยากที่จะบูรณะให้เหมือนดังเดิมได้ และประกอบกับรี้พลของเจ้าตากมีไม่พอที่จะรักษากรุงศรีอยุธยาที่เป็นเมือง ใหญ่ได้ จึงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานี และได้อพยพผู้คนลงมาตั้งมั่นที่เมืองธนบุรี

เจ้าตากทรงทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม ๔ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๓๐ ปีชวด สัมฤทธิศก ตรงกับวันที่ ๒๘ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๑๑ ขณะมีพระชนมายุได้ ๓๔ พรรษา ทรงนามว่า สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือ สมเด็จพระบรมราชาที่ ๔ แต่ประชาชนทั่วไปยังนิยมขนานพระนามพระองค์ว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน วัดเชิงท่า อยุธยา

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดากับสมเด็จพระอัครมเหษี กรมหลวงบาทบริจา และกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ รวมทั้งพระสนมต่าง ๆ รวมทั้งสิน ๒๙ พระองค์

สมเด็จโต

๒ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

ชาตะ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๓๓๑ ตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีวอก จ.ศ. ๑๑๕๐ เวลา พระบิณฑบาต ๐๖.๔๕ น. (ย่ำรุ่ง ๙ บาท ) มารดาชื่อ งุด เกศ บิดาไม่ปรากฏแน่ชัด(บางแห่ง อ้างว่าเป็นราชวงศ์จักกรี)

บวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ณ วัดใหญ่เมืองพิจิตร ต่อมาย้ายมาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ เมือง ชัยนาทพออายุได้ ๑๘ ปี ก็ย้ายมาศึกษากับอาจารย์แก้ว วัดบางลำพู กรุงเทพฯ และยังได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมกับเสมียนตราด้วง ขุนพรมเสนา ปลัดเสนา ปลัดกรมนุท เสมียนบุญ และพระกระแสร์ต่อมาได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอดิศร สุนทร พระ บรมโอรสาธิราชให้ทรงโปรดมาอยู่กับสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุ

บวชเป็นพระภิกษุ พอถึง พ.ศ. ๒๓๕๑ อายุ ๒๑ ปี สมเด็จเจ้าฟ้าพระบรมราชโอรสทรงรับภาระบรรพชาเป็น นาคหลวงโดยให้ไปบวชที่วัดตะไกร จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งโยมแม่และญาติมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั่น แล้วมาประจำอยู่กับพระสังฆราชวัดมหาธาตุต่อไป

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ สวรรคตลง เจ้าฟ้าทูลกระหม่อม ซึ่ง บวชตลอดรัชกาลที่ ๓ ที่วัดบวรฯ ก็ลาสิขาบทขึ้นเสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๔ แห่งราชวงศ์จัก กรี ก็ได้ทรงมีพระบรมราชโองการให้เป็น “พระธรรมกิตติ” ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัด ระฆัง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสได้ไม่นาน พอถึง พ.ศ. ๒๓๙๗ ก็โปรด เกล้าฯ ให้เป็น “พระเทพกวี” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗ ก็โปรดเกล้าฯ ให้เป็น “สมเด็จพระ พุฒาจารย์” ชาวบ้านทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า “สมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆัง” เรียกไปเรียกมา เหลือเพียง “สมเด็จโต” ในทีสุด ขณะที่โปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จนั้น มีอายุได้ ๗๘ ปี อายุ พรรษาได้ ๕๖ พรรษาแล้ว

มรณภาพ สมเด็จโต จะอาพาธด้วยโรคอะไรไม่ปรากฏ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น) ปีวอก จ.ศ. ๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๔๑๕ เวลาประมาณ ๒๔.๐๐ น.เศษ บนศาลา ใหญ่วัดอินวรวิหาร บางขุนพรหม

สมเด็จโตมีสิริรวมชนมายุของท่านได้ ๘๕ ปี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ได้ ๒๐ ปี บริบูรณ์ ดำรงฐานันดรศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์โตมาได้ ๗ ปี เศษ ๖๕ พรรษา

ชินะ ปัญชะระ ปะริต ตังมัง รักขะตุ สัพพทา” ขอพระชินปัญชรปริตรจงรักษาข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ (พระคาถาชินบัญชรย่อ)

ตามรอยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดเขาขุนพนม นครศรีธรรมราช