โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง โดยคนใกล้ชิดต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก และยิ่งต้องระวังคำพูดที่จะพูดกับบุคคลกลุ่มนี้ด้วย ดังนั้นประโยคที่ไม่ควรพูด เพราะในบางครั้งคำพูดต่างๆนั้น อาจทำให้ผู้ป่วยตีความประโยคให้กำลังใจต่างออกไป จนทำให้เกิดปัญหาในที่สุดจึงเป็นสิ่งที่ควรจะต้องรู้ เพราะบางครั้งคำพูดเพียงคำประโยคเดียวก็สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า คิ ด ฆ่ า ตั ว ต า ย ได้ในทันที

● สู้ ๆ นะ เธอทำได้อยู่แล้ว พยายามอีก
จริง ๆ แล้วมันก็เป็นคำพูดให้กำลังใจปกตินั่นแหละที่ดูเหมือนไม่มีอะไร แต่สำหรับคนที่เป็นซึมเศร้าบางคนแล้ว มันส่งผลกับเขามหาศาล เพราะเราไม่รู้เลยว่า ที่ผ่านมาแล้วสู้มาแล้วขนาดไหนกว่าจะถึงวันนี้ ทั้งสู้กับความคิดตัวเอง สู้กับความเครียด ความกดดัน สู้กับโรคที่เป็นและ พวกเขาไม่รู้ต้องสู้ไปถึงเมื่อไร การบอกให้เขาสู้ ๆ และบอกว่าเขาทำได้อยู่แล้ว ในมุมหนึ่งมันก็ดูเป็นความกดดัน
● เรื่องแค่นี้เอง
คำนี้ไม่ควรพูดอย่างมาก เพราะเราไม่รู้เลยว่าเรื่องแค่นี้ของเรา สำหรับเขาแล้วมันใหญ่ขนาดไหน ปัญหา ความทุกข์ ความกดดันที่เขาเจอมันอาจจะมากกว่าที่คุณสัมผัสก็ได้ เพราะความเปราะบางในใจคนเราไม่เท่ากัน ดังนั้นปัญหาของเราจึงไม่เท่ากัน
#มีคนที่แย่กว่านี้อีก
ปัญหาและสภาพจิตใจของใครของมัน ไม่ควรเอาเขาไปเปรียบเทียบกับใคร มีคนที่แย่กว่าก็ไม่ได้หมายความว่าเขาต้องรู้สึกดีขึ้นเพราะเหตุผลนี้ เพราะปัญหาของเขามันก็ยังอยู่ มันไม่ได้เกี่ยวข้องกัน ดังนั้นไม่ควรเปรียบเทียบกับใคร
● ร้องไห้ทำไม อย่าร้อง
การร้องไห้ไม่ใช่เรื่องผิดและไม่ใช่เพราะความอ่อนแอ แต่การร้องไห้มันคือการระบายออกของความรู้สึกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้น การบอกให้เขาหยุดร้องเพราะจะดูอ่อนแอ ไม่เข้มแข็งมันจึงไม่ควรเกิดขึ้น ถ้าเขาจะร้องปล่อยให้เขาร้อง

● จะเศร้าอะไรนักหนา เลิกเศร้าได้แล้ว
โรคซึมเศร้าเป็นโรคชนิดหนึ่ง บางทีเขาก็ไม่ได้อยากเศร้าแต่ด้วยอาการของโรคมันแสดงอาการออกมาจึงทำให้เขาเศร้า ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ก่อน และเชื่อเถอะว่าโลกนี้มันไม่ได้ใจดีกับทุกคนขนาดนั้น มันก็ต้องมีวันที่เราระเบิดความเศร้าที่เก็บสะสมไว้ออกมาบ้าง ดังนั้นอย่าตั้งคำถามกับความเศร้า และบังคับให้เขาเลิกเศร้าได้แล้ว เพราะบางทีมันก็เป็นอาการของโรค
สิ่งที่ควรทำมากที่สุดเพื่อคุณต้องพูดคุยหรือคอมเม้นท์กับคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อาจจะเป็นเพียงแค่การรับฟังพวกเขาอย่างตั้งใจ รับฟังด้วยใจจริง ๆ ไม่ต้องตัดสิน ไม่ต้องพูดอะไรมาก แค่รับฟังก็เพียงพอ และพยายามอย่าใช้พูดต้องห้าม เพราะนอกจากจะไม่ช่วยอะไรแล้ว ยังเป็นการฆ่าคนด้วยมือเปล่าทางอ้อมโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย
ติดตามสาระน่ารู้การสร้างเสริมสุขภาพได้ที่ https://www.facebook.com/TheBulletinThailand
Ⓜ️ เรื่องที่น่าสนใจ |

โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ เป็นโรคทางอารมณ์ที่พบบ่อย โดยมีความชุกตลอดช่วงชีวิตถึง 12% พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้ในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์เลวร้ายที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก เช่น การสูญเสีย ความผิดหวังหรือการหย่าร้าง การเป็นโรคนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลวหรือไม่มีความสามารถ เพราะมีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าโรคซึมเศร้ามีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการทำงานของระบบสมองที่ผิดปกติ ในปัจจุบันโรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาและการรักษาทางจิตใจ หากไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าที่รุนแรงมากขึ้น เช่น มีอาการหลงผิด หูแว่ว มีความคิดทำร้ายตนเองหรือฆ่าตัวตาย ประเภทโรคซึมเศร้า (Depression) โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึมเศร้า เป็นผลมาจากความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง ในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน โรคซึมเศร้านั้นมีหลากหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป อารมณ์ที่หลายหลายของโรคซึมเศร้า ได้แก่ 1. โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major…

พ่อแม่ทุกคนก็อยากที่จะให้ลูกๆ ที่น่ารักของเราเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมที่ดี การปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีแก่ลูกน้อยตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ลูกประสบความสำเร็จในอนาคตได้ก่อนจะสายเกินไป วันนี้เรามีข้อแนะนำถึงการสร้างนิสัยที่ดีที่จะติดตัวลูกไปจนตลอดชีวิต มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย.. 1. สร้างนิสัยความซื่อสัตย์ เพราะความซื่อสัตย์หากมีติดตัวไว้ เชื่อเลยว่าไปที่ไหนก็จะมีแต่คนรัก ลูกของคุณจะฟังคำพูด คำสอน และจดจำคำแนะนำต่างๆ จากคุณ ดังนั้นคุณควรสอนให้ลูกพูดความจริงอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการโกหกทุกประเภทไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องเล็กเพียงใดก็ตามที่คุณอาจคาดไม่ถึง เช่น การพูดกับลูกว่า “อย่าไปบอกพ่อนะว่า วันนี้พวกเราได้กินลูกอมไปกันคนละเม็ด” หรือถ้าหากคุณจับได้ว่าลูกของคุณได้พูดโกหก คุณไม่ควรที่จะดุหรือแสดงท่าทีโมโหมากจนเกินไป รวมถึงควรสอนบทเรียนที่สำคัญให้กับลูก เพราะว่าแม้การพูดความจริงอาจจะไม่ง่ายและลำบากใจตนเอง แต่มันจะทำให้คนอื่นๆ รู้สึกดีเมื่อได้รู้ความจริง 2. สอนลูกให้เข้าใจคุณค่าของความล้มเหลวและความพยายาม พ่อแม่จึงต้องอบรมและสั่งสอนลูกเรื่องความผิดพลาดว่าสามารถเกิดขึ้นได้ แต่ลูกก็ต้องผ่านพ้นมันไปให้ได้ แล้วลูกจะแข็งแกร่งขึ้นหลังจากที่พ่ายแพ้ เพราะคนเราไม่จำเป็นต้องชนะทุกอย่าง แต่การเรียนรู้ที่จะเติบโตผ่านประสบการณ์ นั่นเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่า 3. สร้างนิสัยความกล้าหาญ คุณพ่อคุณแม่ควรสนับสนุนลูกในการทำสิ่งต่างๆ และเมื่อลูกทำสิ่งใดเสร็จก็ควรกล่าวชื่นชมอย่างเหมาะสม รวมถึงให้คำเสนอแนะอย่างตรงไปตรงมา หรือในกรณีที่ลูกกลัวที่จะทำสิ่งใด เช่น ลูกจะออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่น แต่ไม่กล้าที่จะเข้าไปทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรให้คำแนะนำและให้กำลังใจลูก เช่น บอกให้ลูกหายใจเข้าลึกๆ แล้วเดินเข้าไปแนะนำตัวกับเพื่อนๆ และเมื่อลูกทำสำเร็จ คุณสามารถกล่าวชื่นชมลูกว่า…

คำพูดดีๆ ที่ลูกอยากได้ยินจากพ่อแม่ เพื่อสร้างกำลังใจ 1. พ่อแม่รักลูกนะ การบอกรักลูก เป็นคำพูดที่ทรงพลังและมีความหมายที่สุด เพราะความรักที่ดีที่สุดคือการเริ่มต้นจากที่บ้าน หากลูกไม่เคยได้ยินคำบอก “รัก” ออกจากปากพ่อแม่ก่อน ก็ไม่รู้แล้วล่ะว่าลูกจะได้ยินคำนี้จากใคร 2. พ่อแม่ภูมิใจในตัวลูกนะ การให้คำชม เมื่อลูกทำสิ่งที่ถูกต้องหรือดีงาม เป็นรางวัลที่ดีที่สุดมากกว่าการซื้อของขวัญให้เป็นการตอบแทน เพราะนั่นจะทำให้ลูกเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง และพยายามทำสิ่งที่ตั้งใจได้อย่างประสบความสำเร็จ 3. พูด “ขอโทษ” แบบไม่ต้องอายลูก ใครๆ ก็สามารถทำผิดได้เหมือนกันหมด การกล่าวคำว่า “ขอโทษ” ในยามที่พ่อแม่ผิด ถือเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ลูก เพราะเขาจะได้เรียนรู้ว่า หากการกระทำใดๆ ที่เกิดจากความไม่ตั้งใจ (หรืออาจจะตั้งใจ) การขอโทษ คือสิ่งที่ควรทำอันดับแรก จำไว้ว่าเด็กๆ เรียนรู้เพียงเล็กน้อยจากสิ่งที่เราพูด แต่พวกเขาจะเรียนรู้มากขึ้นจากสิ่งที่เราทำ และจะเรียนรู้มากที่สุดจากสิ่งที่เราเป็น 4. แม่ให้อภัยลูกจ้ะ เด็กยิ่งโตก็ยิ่งเริ่มมีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น และที่ตามมาคือการกระทำแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่โกรธจนหัวฟัดหัวเหวี่ยง แต่ยังไงลูกก็เป็นลูกของเราเสมอ พ่อแม่ยินดีที่จะกล่าวคำว่า “ให้อภัยลูก” และให้เหตุผลต่อลูก เด็กๆ จะเรียนรู้และไม่พยายามที่จะทำผิดพลาดอีก…