พระอาจารย์สมนึก วัดหรงบน ผู้สืบทอดวิชาเป่า “ยันต์เกราะเพชร” หนุนดวง เสริมบารมี การงาน การเงิน

19618
views
พระอาจารย์สมนึก วัดหรงบน

หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดนครศรีอยุธยา องค์บูรพาจารย์ของหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง เป็นต้นตำรับการเป่ายันต์เกราะเพชร

หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค

หลวงพ่อเมตตาเล่าว่า งานเป่ายันต์แต่ละครั้ง เรือแพแน่นขนัดไปทั้งแม่น้ำ เดินข้ามไปอีกฝั่งได้สบาย ๆ ผู้คนหลั่งไหลกันมามืดฟ้ามัวดิน หุงข้าวพร้อมกันทีละแปดกระทะ ตั้งแต่เช้ายันเย็นยังไม่พอเลี้ยงคนเลย…

ยันต์เกราะเพชรนี้ หลวงพ่อปานศึกษาจากตำราพระร่วง โดยตัดมาจากส่วนหนึ่งของธงมหาพิชัยสงคราม

พระอาจารย์สมนึก ฉนฺทธมฺโม

ประวัติพระครูพิทักษ์อินทมุนี ( พระอาจารย์สมนึก ฉนฺทธมฺโม ) เจ้าอาวาส วัดหรงบน (หลวงปู่เขียว อินทมุนี) ต.บางตะพง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช รูปปัจจุบัน

ชาตภูมิ

เดิมชื่อ สมนึก พุ่มนก เกิดเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ตรงกับ วันอังคาร แรม ๗ ค่ำ เดือน ๖ ปีวอก บิดาชื่อ คลิ้ง พุ่มนก มารดาชื่อ พั้ว พุ่มนก ภูมิเลาเนาเดิมอยู่ที่อำเภอ หาดใหญ่ จังหวัด สงขลา เรียนจบชั้นประถม ๖ ที่โรงเรียนวัดคอหงษ์ อำเภอหาดใหญ่ เรียนจบชั้น มศ.๖ที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยา เรียนจบชั้น ปวส.ที่โรงเรียนหาดใหญ่พานิชการ หลังจากเรียนจบก็ได้ไปทำงานกับญาติที่อำเภอธารโต ตำบลสุครินทร์ อยู่พักนึงจนกระทั่งมีญาติผู้ใหญ่เสียชีวิตลงที่อำเภอหาดใหญ่ จึงได้กลับไปบ้านเกิดที่อำเภอหาดใหญ่และได้อุปสมบทอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติที่เสียชีวิตลง

พระอาจารย์สมนึก ฉนฺทธมฺโม

อุปสมบท

หลวงพ่อสมนึก อุปสมบทที่พัทธสีมาวัดหงษ์ประดิษฐาราม(คอหงษ์)อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา เมื่ออายุได้๒๔ปี วันที่ ๒๔ กุมภาพันธุ์ พ.ศ.๒๕๒๓ โดยมี พระปริยัติวรานุกูล อดีตเจ้าอาวาสวัดหงษ์ประดิษฐาราม(คอหงษ์)เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาเชือน สนฺตจิตฺโต วัดหงษ์ประดิษฐาราม(คอหงษ์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า ฉนฺทธมฺโม ผู้มีความพอใจเป็นปกติ

หลังอุปสมบทแล้วก็เกิดศรัทธาอยากจะอยู่เป็นพระศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านำมาประพฤติปฏิบัติสั่งสอนสืบทอดพระศาสนาต่อไปจึงได้อยู่วัดหงษ์ประดิษฐาราม(คอหงษ์)เพื่อศึกษาหาความรู้จากพระอุปัชฌาย์และครูบาอาจารย์จนกระทั่งเรียนจบนักธรรมชั้นเอกที่วัดหงษ์ประดิษฐารามเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ อายุได้๒๖ปี พรรษาที่๓ นับว่าท่านเรียนได้ปีละชั้น หลังจากจบนักธรรมชั้นเอกแล้ว ท่านก็ช่วยสอนพระภิกษุสามเณรในสำนักเรียนวัดหงษ์ประดิษฐาราม(คอหงษ์)ต่อ และยังรับงานเป็นพระเลขานุการของพระปริยัติวรานุกูลพระอุปัชฌาย์ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอหาดใหญ่ในขณะนั้น

พิธีไหว้ครูรับการเป่ายันต์เกราะเพชร วัดหรงบน

หลวงพ่อสมนึก ฉนฺทธมฺโม มีนิสัยเป็นผู้มีเมตตาสูงจึงเป็นที่รักใคร่ของพระภิกษุสามเณรในระหว่างนั้นท่านเหนื่อยมากเพราะมีหน้าที่มากและพระภิกษุสามเณรในความรับผิดชอบก็หลายรูป เมื่อออกพรรษาแล้วท่านก็มักหลีกออกไปธุดงค์ตามป่าเขาเลาเนาไพรเพื่อปลีกวิเวกเจริญสมณธรรมกรรมมัฏฐานสมถะวิปัสสนาขจัดกิเลสตัณหาเพื่อความเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป ในบางครั้งท่านก็ไปคนเดียวเที่ยวไปในป่าแถบจังหวัดสงขลา สตูล พัทลุง บางครั้งท่านก็ธุดงค์ไปกับพระสหธรรมิกเช่น พระอาจารย์เจริญ(เขียว) วัดโพธิ์เจริญ อำเภอรางู จังหวัดสตูล และอีก๒-๓รูป

เป่ายันต์เกราะเพชร

รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหรงบน

เมื่อปีพ.ศ.๒๕๓๓ หลวงพ่อสมนึก ฉนฺทธมฺโม ได้ไปร่วมพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรที่วัดโคกสมานคุณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัด สงขลา โดยพระครูสมานคุณากรณ์(พ่อท่านจันทร์ จนฺทวํโส)และได้พบกับคุณณรงค์ เลติกุล ศิษย์ หลวงพ่อบุญธรรม วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัด นครปฐม ซึ่งเป็นหลานหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ถ่ายทอดวิชายันต์เกราะเพชรให้พระครูสมานคุณากรณ์(พ่อท่านจันทร์ จนฺทวํโส)

หลวงปู่เขียว อินทมุนี

คุณณรงค์ เลติกุล จึงได้นิมนต์หลวงพ่อสมนึก ฉนฺทธมฺโม ให้มาอยู่วัดหรงบนเพราะวัดหรงบนขณะนั้นไม่มีพระภิกษุที่มีความสามารถมีแต่หลวงตาชราๆอยู่เฝ้าวัดเท่านั้น กุฏิวิหารก็เก่าทรุดโทรมผุพังไปตามกาลเวลา เมื่อหลวงพ่อสมนึก ฉนฺทธมฺโม มาอยู่วัดหรงบนก็ได้มีพระภิกษุมาอยู่ด้วยกันหลายรูป และมีการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนจนมีพระภิกษุสามเณรเต็มวัดกว่า๕๐รูป จนไม่มีกุฏิพอให้พระเณรจำวัดหลวงพ่อสมนึก ฉนฺทธมฺโม จึงสร้างกุฏิเพิ่มเติมขึ้นอีกกว่า๓๐หลัง

ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ หลวงพ่อสมนึก ฉนฺทธมฺโม ก็ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดหรงบน และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดหรงบนเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๗ อายุได้ ๓๘ปี พรรษา ๑๔ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นตลอดมา

พ.ศ.๒๕๕๕ อายุได้๕๖ปี๓๑พรรษา ได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ที่ พระครูพิทักษ์อินทมุนี เมื่อ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ และได้เดินทางไปรับใบตราตั้งตาลปัตรพัดยศที่จังหวัดระนองเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖

เป่ายันต์เกราะเพชร

สำหรับประวัติหลวงพ่อสมนึกท่านเมตตาเล่าถึงเรื่องราวย้อนหลังกลับไปให้ผมฟังว่าเมื่อสมัยที่โยมนิมนต์ท่านมาอยู่วัดหรงบนใหม่ๆปี พ.ศ. ๒๕๓๓ นั้น วัดหรงบนมีสภาพทรุดโทรมอย่างมากด้วยเพราะว่าวัดหรงบนขาดพระเณรดูแลมีเพียงหลวงตาจำวัดอยู่แค่รูปเดียว ท่านมองเห็นสภาพวัดหรงบนทรุดโทรมจึงอยากบูรณะวัดหรงบนใหม่แต่ก็เจอกับปัญหาอย่างใหญ่หลวงเนื่องจากวัดไม่มีปัจจัยจะบูรณะซ่อมแซมวัดเลย อีกสาเหตุอย่างหนึ่งก็คือวัดหรงบนไม่คอยมีคนเข้ามาทำบุญ

พิธีไหว้ครูรับการเป่ายันต์เกราะเพชร วัดหรงบน

หลวงพ่อสมนึกท่านก็เริ่มเข้าใจปัญหาของที่นี้มากขึ้นแต่ไม่ก็รู้จะใช้วิธีการใดจึงจะสามารถดึงศรัทธาของคนในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาบูรณะวัดขึ้นมาด้วยเหตุนี้เองท่านจึงตัดสินใจศึกษาคาถาอาคมในพระคัมภีร์ แต่ก็ต้องมาพบเจอปัญหาอีกครั้งเพราะว่าตำราวิชาอาคมล้วนเขียนด้วยอักษรขอมทำให้หลวงพ่อสมนึกไม่สามารถจะศึกษาต่อได้

เป่ายันต์เกราะเพชร

จากนั้นท่านจึงหันมาศึกษาอักษรขอมไทย เริ่มตั้งแต่การศึกษาพยัญชนะ สระ ผสมสระกับพยัญชนะให้เป็นคำ แปลอักษรขอมเป็นภาษาบาลี แปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทย แปลภาษาไทยอักษรขอมเป็นต้น เมื่อท่านอ่านเขียน ท่องจำอักษรขอมไทยจนชำนาญโดยใช้ระยะเวลาเพียง ๓เดือนก็สามารถศึกษาสำเร็จ หลวงพ่อสมนึกจึงศึกษาคัมภีร์ปถมังซึ่งเป็นขั้นต้นของการศึกษาวิชาอาคม หลวงพ่อสมนึกท่านเล่าว่าในคัมภีร์ปถมังบอกว่าเริ่มแรกด้วยการทำพินทุ คือแววกลม ถือเป็นปฐมกำเนิด

ยันต์เกราะเพชร วัดหรงบล

จากนั้นจึงแตกเป็นทัณฑะ เภทะ อังกุ และสิระตามลำดับ สำเร็จเป็นปถมังพินทุ เวลาทำใช้แท่งดินสอเขียนลงบนกระดานชนวน มีการเรียกสูตรบริกรรมคาถากำกับตลอด จนสำเร็จเป็นนะปถมัง มีการนมัสการและเสกตามลำดับ ขณะทำมีขั้นตอนและวิธีการที่สลับซับซ้อนพิสดารมาก เนื้อหาของคัมภีร์ปถมังนี้มีทั้งสิ้น ๙ วรรค หรือ ๙ กัณฑ์ แต่ละกัณฑ์เป็นวิธีการทำผงเพื่อฝึกจิตอย่างพิสดารต่างกันไป โดยทุกวรรคหรือทุกกัณฑ์จะเริ่มต้นด้วยนะปถมังพินทุ

เป่ายันต์เกราะเพชร

จากนั้นจะแยกแยะไปเป็นอุณาโลม อุโองการ องค์พระภควัม หัวใจพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ ฯลฯ ต่างกันไปในแต่ละวรรค แต่ทุกวรรคจะจบที่สูญนิพพาน คือ นิพพานัง ปรมัง สุญญัง เหมือนกันทั้งสิ้น ขณะทำผู้ทำจะใช้จิตเพ่งอักขระ มือเขียน พร้อมบริกรรมคาถาอย่างต่อเนื่องจนจิตสงบเป็นเอกัคคตาสมาธิ เมื่อจบสูตรแล้วจึงเอามือลบอักขระบนกระดาน กล่าวกันว่าหากจิตเป็นสมาธิแน่วแน่ ผงดินสอพองบนกระดานชนวนนั้นบางทีก็จะร่วงหล่นหรือทะลุลอดแผ่นกระดานลงไปอยู่เบื้องล่างได้ เรียกว่าผงปัดตลอดหรือผงทะลุกระดาน เป็นของวิเศษมีอานุภาพยิ่งนัก หลวงพ่อสมนึกเล่าว่า

ยันต์เกราะเพชร วัดหรงบล

การศึกษาคัมภีร์ปถมังเป็นการ ฝึกสมาธิ ไปในตัวแล้วก็จะสามารถถึงองค์ฌานได้ อีกประการหนึ่งเป็น วิปัสสนา คือการคิดอย่างชาญฉลาด มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง เกี่ยวกับสังขารธรรมอย่างละเอียดโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ นานา เช่น เมื่อคิดทำความเข้าใจเรื่องรูปขันธ์จนแจ่มแจ้งชัดเจนด้วยญาณปริญญาแล้ว ก็คิดถึงรูปขันธ์โดยใช้ลักษณะที่ไม่เที่ยงของรูปขันธ์ว่า “รูปขันธ์ไม่เที่ยง เพราะปกติแล้วรูปขันธ์ ต้องสิ้นไป เป็นต้น

เป่ายันต์เกราะเพชร

หลวงพ่อสมนึกเมตตาเล่าถึงการศึกษาคัมภีร์ปถมังว่าศึกษาเพื่ออะไรซึ่งท่านก็ได้อธิบายให้เข้าใจง่ายเป็นข้อๆ ดังนี้

๑.การใช้ จิต ให้ถูกต้องไปตามแต่วิชานั้นๆเนื่องจากวิชาแต่ละวิชาใช้จิตไม่เหมือนกัน เช่น วิชาคงกระพันชาตรี จิตใจต้องกล้าแกร่งเกรงไม่กลัวต่อศัตราวุธที่พุ่งมาออก วิชาเมตตามหานิยม ทำจิตให้รักผู้อื่นเปรียบกับบุตรของตน วิชามหาอุด ต้องทำจิตให้อุดปิดทวารทั้ง๙ วิชาชาตรี คนส่วนใหญ่มักเรียกรวม วิชาคงกระพัน กับ วิชาชาตรีเข้าด้วยกัน เป็นวิชาคงกระพันชาตรีแต่ที่จริงแล้ววิชาชาตรีนั้นต่างจากวิชาคงกระพันตรงที่ วิชาคงกระพันฟันแทงไม่เข้าแต่ก็ยังมีความเจ็บปวดเกิดขี้นอยู่ แต่วิชาชาตรีนั้น ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บเลย เพราะวิชาชาตรีนั้นทำให้ของหนักต่างๆที่จะมากระทบตัวจะเบาไปหมด เป็นต้น

๒.การรู้จักใช้ ลมปราณ คือการสูดลมหายใจเข้า-ออก โดยการสูดเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในอากาศแล้วเคลื่อนย้ายมาสู่ลมหายใจร่างกายจนไปถึงแขนมือจนในที่สุดก็ลงสู่ปากกาหรือดินสอและตัวอักขระนั้นๆ

๓.การใช้ กสิณ การใช้กสิณโดยตรงเมื่อจะลงอักขระนั้นต้องให้อักษรมีแสงสว่างเหมือนสายฟ้าที่ฟาดลงมาบนตัวอักษรนั้นๆ

๔.รู้จักการทำ สมาธิ การทำสมาธิจิตใจแน่วแน่เป็นหนึ่งไม่วอกแวก จิตใจจะต้องสงบขณะที่ทำการลงอักขระนั้นๆ และ ๕.การใช้ คาถาการใช้คาถาแต่ละด้านให้ตรงกับวิชานั้นๆ เป็นต้น

ยันต์ตรีนิสีเห

หลังจากหลวงพ่อสมนึกศึกษาคัมภีร์ปถมังสำเร็จแล้วท่านจึงหันมาศึกษาเรื่องยันต์ต่างๆท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่ายันต์แรกที่ท่านเริ่มศึกษาคือ ยันต์ตรีนิสิงเห ท่านบอกว่ายันต์ตรีนิสีเหเป็นแม่ยันต์ทั้งปวงถึงแม้จะมีแต่ตัวเลขแต่ก็รวมคาถาต่างๆมาอยู่ในยันต์นี้หมดสำหรับยันต์ตรีนิสีเหโบราณใช้แขวนเรือนเวลาคลอดบุตรหรือเรือนผู้มีลูกอ่อน

ยันต์เกราะเพชร วัดหรงบล

เพื่อป้องกันภูตผีปีศาจและโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ยันต์ตรีนิสิงเห ยังนิยมใช้จารบนแผ่นโลหะติดเสาเรือน เพื่อปัองกันไฟไหม้และฟ้าผ่า ตัวเลขชุดดังกล่าวเป็นกลเลขที่สามารถถอดไปได้อีกเช่นเดียวกับจตุรัสกลในทาง คณิตศาสตร์ โดยการตั้งฐานเลขและบวกลบคูณหารตามขั้นตอนในคัมภีร์ตรีนิสิงเห จนได้ผลลัพธ์เป็น อัตราตรีนิสิงเห โดยอัตราเลขชุดนี้สามารถตั้งบวกลบคูณหารต่อไปได้อีกตามกลแต่ละแบบยันต์ ตรีฯนี้ เป็นหนึ่งในขั้นต้นในการลบผง(ปถมัง อิธิเจ ตรีนิสิงเห และมหาราช) ผงที่ได้จากการทำตามคัมภีร์ตรีนิสิงเห เรียกผงตรีนิสิงเห เชื่อว่ามีอานุภาพทั้งทางอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม ตลอดจนถอนคุณไสยสิ่งอวมงคลทั้งมวล

ยันต์เกราะเพชร วัดหรงบล

ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของภาพ และที่มาเนื้อหาข้อมูลมา ณ ที่นี้

ศิษย์มีครู เพื่อเผยแผ่กิตติคุณเป็นสังฆบูชา

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร