ลักษณะภรรยา ๗ จำพวก ลงนรกและขึ้นสวรรค์

3476
views
ภรรยา ๗ จำพวก

ขอน้อม กาย วาจา จิต บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในกาลทุกเมื่อ ในทุกทุกขณะจิต ไม่ว่าจะระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณังคัจฉามิ

นางสุชาดา

พุทธดำรัสตอบ “……ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้… คือ ภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๑ ภรรยาเสมอด้วยโจร ๑ ภรรยาเสมอด้วยนาย ๑ ภรรยาเสมอด้วยแม่ ๑ ภรรยาเสมอด้วยพี่สาวน้องสาว ๑ ภรรยาเสมอด้วยเพื่อน ๑ ภรรยาเสมอด้วยทาสี ๑

๑. ภริยา ที่จิตคิดประทุษร้ายสามี ประพฤติในสิ่งที่เป็นโทษต่อสามี ยินดีรักใคร่ในบุรุษอื่นดูหมิ่นล่วงเกินสามี และขวนขวานขวายเพื่อจะฆ่าสามี เพื่อต้องการมีใหม่ นี้ชื่อว่า วธกภริยา คือ ภริยาดุจดังเพชรฆาต

๒. ภริยา ที่ไม่รู้จักเก็บงำทรัพย์สินใดๆ ที่สามีหามาได้โดยยาก ปรารถนาเพียงแต่จะใช้จ่ายทรัพย์ให้หมดสิ้นไป เงินเดือนออกเมื่อไหร่เป็นว่ารอเฝ้าที่หน้าสำนักงาน เก็บเรียบงกคนเดียว นี้ชื่อว่า โจรีภริยา คือ ภริยาดุจดังโจร

๓. ภริยา ที่ไม่ปรารถนาทำการงานใดๆ เกียจคร้าน กินจุ จุกจิก หยาบช้า ดุร้าย ปากคอระรานไปทั่ว กดขี่ข่มแหงผู้คอยรับใช้ นี้ชื่อว่า อัยยาภริยา คือ ภริยาดุจดังเจ้าของ

ภรรยา ๗ จำพวก

๔. ภริยา ที่มีจิตโอบอ้อมอารีย์ บำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ดูแลสามีดุจมารดาดูแลรักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามีหามาด้วยความลำบากไว้ได้ จัดการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม นี้ชื่อว่า มาตาภริยา คือ ภริยาดุจดังมารดา

๕. ภริยา ที่มีความเคารพต่อสามี มีความละอายแก่ใจปฏิบัติตามหน้าที่ และตามความพอใจของสามีดุจน้องสาว ไม่ขัดขืน มีความเคาพต่อสามีเยี่ยงพี่ชาย นี้ชื่อว่า ภคินีภริยา คือ ภริยาดุจดังน้องสาว

๖. ภริยา ที่มีจิตร่าเริงเมื่อเห็นหน้าสามี คล้ายกับเห็นเพื่อนสนิทมิตรสหายผู้จากกันไปนาน เป็นผู้รักษาวงศ์ตระกูล ปรนนิบัติต่อสามีเสมอต้นเสมอปลาย นี้ชี่อว่า สขีภริยา คือ ภริยาดุจดังเพื่อน

ภรรยา ๗ จำพวก

๗. ภริยา ที่ไม่มีความโกรธ แม้ถูกขู่ ถูกคุกคามต่างๆ ด้วยชีวิตหรืออาชญา หรือถูกสามีทุบตีทำร้ายนานา ก็ไม่มีจิตประทุษร้ายตอบ อดกลิ้นต่อสามี ยอมตามอำนาจสามีเสมอ นี้ชื่อว่า ทาสีภริยา คือ ภริยาดุจดังทาส

จากนั้นพระพุทธองค์ทรงสรุปว่า ภริยา ๓ จำพวกต้นนั้นเมื่อล่วงลับไปแล้วย่อมไปบังเกิดในนรก…ส่วน ๔ จำพวกนอกนั้นย่อมไปบังเกิดในเทวโลก ชั้นนิมมารนรดี

ภรรยา ๗ จำพวก

ภริยาสูตร ส. อํ. (๖๐)
ตบ. ๒๓ : ๙๓-๙๕ ตท. ๒๓ : ๘๗-๘๘
ตอ. G.S. IV : ๕๗-๕๘

เนื้อหาต้นฉบับโดย : พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ dhammajak.net