“คาถาอัญเชิญพระเข้าตัว” ก่อนคล้องพระ ต้องสวด – แขวนพระอย่างไรให้ปาฏิหาริย์เกิด

25531
views
คล้องพระ ต้องสวด

ก่อนคล้องพระต้องสวดบทคาถา “อัญเชิญพระเข้าตัว”

คาถาอัญเชิญพระ

ตามหลักของบูรพาจารย์นั้น เมื่อรับพระเครื่องมาแล้วนั้นไม่ว่าจะรับจากครูบาอาจารย์โดยตรง จากคนอื่นหรือไปเช่ามา หรือด้วยเหตุอันใดก็ตาม ควรต้องมีการอัญเชิญพระเข้าตัว

การอัญเชิญนี้เพื่อให้คนที่รับพระเครื่องนั้น น้อมนำและสำนึกในพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เป็นการเริ่มนิมิตหมายที่ดีในชีวิตที่กำลังเดินทางไปสู่ความเจริญ

ถ้าหากจะสวมใส่ในแต่ละวัน ให้สวดอัญเชิญพระเข้าตัวก่อนคล้องพระทุกครั้ง ในการสวดนั้นต้องทำจิตให้นิ่งระลึกเคารพถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ทุกครั้ง แล้วสวดคาถา พลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์ในองค์พระที่ท่านใส่นั้น จะช่วยปกป้องคุ้มครองและดลบันดาลตามที่ท่านปรารถนา

ห้อยพระตรงวันเกิด

บทสวดอัญเชิญพระเข้าตัว

สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพลัง
อรหันตานัญ จะเตเชนะ รักขังพันธามิ สัพพะโส
พุทธังอธิษฐามิ ธัมมังอธิษฐามิ สังฆังอธิษฐามิ
(สวด ๓ จบหรือ ๕ จบ ก่อนที่ห้อยพระ)

ห้อยพระตรงวันเกิด

คำแปลบทอัญเชิญพระเข้าตัว (บทสัพเพ)

สัพเพพุทธา ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สัพเพธัมมา ด้วยอำนาจแห่งพระธรรมทั้งหลาย สัพเพสังฆา ด้วยอำนาจแห่งพระสงฆ์ทั้งหลาย

พะลัพปัตตา ปัจเจกานัญ จะ ยังพะลัง

ด้วยอำนาจแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

อะระหันตานัญ จะเตเชนะรักขัง พันธามิ สัพพะโส

พระสมเด็จ

ด้วยอำนาจแห่งพระอรหันต์เจ้ารักษา (พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสงฆ์) ทั้งหมดทั้งมวล ขอให้เป็นไปตามคำอธิษฐาน

พุทธังอธิษฐามิ ข้าพเจ้าขออธิษฐานด้วยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้า

ธัมมังอธิษฐามิ ข้าพเจ้าขออธิษฐานด้วยอำนาจแห่งพระธรรม

สังฆังอธิษฐามิ ข้าพเจ้าขออธิษฐานด้วยอำนาจแห่งพระสงฆ์

(น้อมจิตแผ่บุญหรืออฐิษฐานน้อมในเรื่องต่างๆ)

ห้อยพระ

แขวนพระอย่างไรถึงจะดี?

เรื่องนี้ไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด แต่มีเคล็ดและข้อแนะนำที่อยากให้ลองอ่านและพิจารณาดูสักนิด ว่าเราเหมาะกับการแขวนพระอย่างไร

๑. การแขวนพระ ทำเพื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธองค์ รวมถึงวัตรปฏิบัติที่ดีงามของครูบาอาจารย์

๒. คนที่ห้อยพระต้องเป็นคนดีมีศีลธรรม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในองค์พระจึงจะช่วยเมตตา

๓. การแขวนพระจะเป็นองค์เดียว ๒-๓-๔ ถึง ๙ องค์หรือมากกว่านั้น ก็แล้วแต่ความชอบ

ห้อยพระ

๔. การแขวนพระจะแขวนองค์ไหนขึ้นก่อนขึ้นหลังให้เรียงลำดับตามเนื้อนาบุญท่านในแต่ละองค์ เหมือนการจัดพระพุทธรูปในบ้าน โดยให้องค์ที่เป็นประธานอยู่ตรงกลางเป็นองค์ที่สำคัญที่สุด ที่เหลือนั้นตามความพอใจลดหลั่นกันไป

๕. หลายคนบอกว่า “ห้อยพระหลายองค์ทำให้พลังศักดิ์สิทธิ์นั้นน้อย” อยากขอเรียนให้ทราบว่า พลังศักดิ์สิทธิ์นั้น เท่ากันทุกองค์ เพราะมาจากพระพุทธเจ้า ทั้งสิ้น

แต่ตัวเราเองนั้นเป็นเครื่องรับพลานุภาพที่ดีหรือไม่ เป็นคนมีศีล มีบุญบารมีหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่สำคัญกว่า

ห้อยพระ

การมีของดีแล้วไม่ได้หมายความว่าชีวิตจะดีไปตลอด คุณต้องหมั่นทำความดี อาราธนาพระ ทำบุญและอุทิศบุญไปให้ครูบาอาจารย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเชื่อมบุญระหว่างตัวเรากับท่านให้กระชับเข้ามาใกล้กันมากขึ้น