คาถาชะลอวัย – ธรรมะชะลอความแก่ ที่พระพุทธเจ้าทรงได้เคยประทานไว้

2689
views
คาถาชะลอวัย

การชะลอความชรา ที่ผู้คนในปัจจุบันกำลังให้ความสนใจ และนักวิทยาศาสตร์ได้ทุ่มเททุนทรัพย์มากมายเพื่อค้นคว้าวิจัย ก็เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้แนะวิธีไว้ให้ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วทั้งสิ้น

พระพุทธ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนธรรมะว่าด้วยเรื่องความทุกข์ และ “ความแก่ ความชรา” เป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ของความทุกข์ พระองค์จึงได้ตรัสถึงเรื่องนี้ไว้มาก อาทิ อาการที่เห็นได้ชัดของความแก่คือ ความอ่อนแอ ไม่มีความสามารถ และความเจ็บป่วยทางร่างกาย

สภาวะเหล่านี้มีอยู่ในความแก่ ซึ่งคนเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างสมบูรณ์ ได้แต่ชะลอหรือทำให้ลดน้อยลงไป โดยวิธีการ ถือศีล ปฏิบัติธรรม ควบคุมดูแลเรื่องโภชนาการ

แนวทางตามเหตุปัจจัยเหล่านี้ เรียกว่า ทางสายกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ คือเห็นถูกต้อง รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ตึงหรือหย่อนยาน สามารถช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีได้

พระ

ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนทิโกศลมักเสวยกระยาหารมาก เมื่อไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงประทับนั่งอึดอัด ทั้งพระวรกายก็อุ้ยอ้าย พระพุทธเจ้า ทรงประสงค์จะอนุเคราะห์ จึงแนะนำด้วยพุทธโอวาทคาถาหนึ่ง ซึ่งแปลเป็นไทย ได้ความว่า

“คนที่มีสติอยู่ตลอดเวลา รู้จักประมาณในการบริโภค ย่อมมีเวทนาเบาบาง แก่ช้า ครองอายุอยู่ได้นาน”

พระเจ้าโกศล ทรงให้ให้มหาดเล็กท่องจำพุทธโอวาท จำคาถานั้นไว้ และคอยกล่าวในเวลาเสวยทุกครั้ง เป็นเครื่องเตือนสติ ให้พระองค์ทรงยับยั้งเพื่อจะได้ไม่เสวยเกินประมาณ

เณร

ไม่นานพระเจ้าปเสนทิโกศลกลับมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่า แข็งแรงขึ้นกว่าแต่ก่อน จากที่เคยเสวยจุ ทีละมากๆ ทรงรู้จักประมาณในการบริโภค เสวยพระกระยาหารอย่างมีสติ ด้วยวิธีการอย่างนี้ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีพระพลานามัยดีขึ้น มีพระวรกายกระปรี้กระเปร่า

เมื่อลองเอาฝ่าพระหัตถ์ลูบพระวรกายก็ทรงดีพระทัย ถึงกับเปล่งพระอุทานออกมาว่า “พระพุทธองค์ทรงอนุเคราะห์เราด้วยประโยชน์ทั้งสอง คือประโยชน์เฉพาะหน้าและประโยชน์ระยะยาวจริงๆ หนอ”

นอกจากนั้น พระพุทธเจ้ายังได้เคยตรัสกับพระอานนท์ไว้ด้วยว่า “อานนท์ ผู้อบรมอิทธิบาท ๔ มาอย่างดีและทำจนแคล่วคล่องแล้วอย่างเรานี้ หากปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ถึง ๑ กัลป์ (คือ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) ก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้”

เณร

แม้เราจะพยายามต้านทานความชราไว้เพียงใด แต่สุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ต้องเดินไปบนเส้นทางเดียวกัน การใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท หมั่นดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอทั้งกายและใจ จะช่วยให้เราเป็นผู้มีอายุยืนอย่างมีความสุข และสามารถสร้างประโยชน์ให้สังคมได้อย่างยาวนานที่สุด