โนราห์ จิตวิญญาณของชาวใต้ เอกลักษณ์ที่น่าภาคภูมิใจ

15216
views
โนราห์ จิตวิญญาณของชาวใต้

มโนราห์ หรือโนราห์ เอกลักษณ์ของชาวใต้ที่น่าภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นศิลปะการร้องและการรำชั้นสูง ทั้งนี้มีคนกล่าวกันว่าต้นกำเนิดนั้น คือที่อินเดียกว่าสี่ร้อยปีที่ผ่านมา

โดยวัตถุประสงค์ก็เพื่อบูชามหาเทพทั้งสามนั้นก็คือ พระอิศวร พระพรหม และพระนารายณ์ ซึ่งในบทร้องของมโนราห์ปัจจุบันก็ยังคงมีเนื้อหาดังกล่าวเจือปนอยู่ แม้จะมีการดัดแปลงแก้ไขใส่เนื้อหาทางด้านพุทธศาสนาและความเชื่อดั้งเดิมคือการนับถือบรรพบุรุษเติมไปบ้างตามอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อท้องถิ่น

มโนราห์

ความเป็นศิลปะชั้นสูงของมโนราห์นั้นสามารถดูได้จาก งานครอบครูโขนละครและดนดรีไทย ที่เป็นมรดกของชาติและเป็นที่ยอมรับว่างดงามและสูงส่ง บนปรัมพิธีจะมีเศียรเก้าเศียรซึ่งเศียรที่เก้านั้นก็คือ เทริด มโนราห์ (คล้ายมงกุฎ) อีกทั้งมโนราห์ยังเป็นศาสตร์ที่รวบรวมเอาศิลป์แขนงอื่นมาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่น งานช่างไม้ ช่างก่อสร้าง ช่างปักเย็บ เป็นต้น

โนราห์ จิตวิญญาณของชาวใต้

โนรา หรือ มโนห์รา (เขียนเป็น มโนรา หรือ มโนราห์ ก็ได้) เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบ ทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม

โนรา เป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้เรียกว่า โนรา แต่ คำว่า มโนราห์ หรือ มโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มาจากพ่อค้าชาวอินเดีย

สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่งฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย และเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อ ประมาณปีพุทธศักราชที่ ๑๘๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น

เชื่อกันว่าโนราเกิดขึ้นครั้งแรกที่ หัวเมืองพัทลุง ปัจจุบันคือ ตำบล บางแก้ว จังหวัด พัทลุง แล้ว แพร่ขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆของภาคใต้ จนไปถึงภาคกลาง และกลายเป็นละครชาตรี และจังหวะ ตะลุง ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้

โนราห์ จิตวิญญาณของชาวใต้

โนรา เกิดขึ้นในราชสำนักของพัทลุงซึ่งมีตำนานเล่ากันมาว่า เจ้าเมืองพัทลุง มีชื่อว่า พระยาสายฟ้าฟาด มีลูกสาวที่ชื่อ ศรีมาลา ซึ่ง มีความสามารถในการร่ายรำมาก ได้เกิดตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน เชื่อกันว่า เป็นท้องกับเทวดา พระยาสายฟ้าฟาดเห็นดัง

นั้นก็โกรธมาก สั่งให้นำนางศรีมาลาไป ลอยแพในทะเล ( คือ ทะเลสาปสงขลา) และ แพได้ไปติดที่เกาะใหญ่ นางศรีมาลา ก็ได้ให้กำเนิดลูกชาย โดยตั้งชื่อว่า เทพสิงหล ซึ่งมีนัยความว่า ลูกของเทวดา นางศรีมาลา ได้ฝึกให้เทพสิงหลฝึกร่ายรำ ซึ่งเทพสิงหล ก็สามารถร่ายรำได้สวยงามมาก และร่ายรำ มีชื่อเสียงมากที่เกาะใหญ่

จนรู้ไปถึงหู พระยาสายฟ้าฟาด ซึ่งพระยาสายฟ้าฟาดก็ยังไม่รู้ว่าหลานตัวเอง ก็ได้ เชิญไปรำในราชสำนัก ฝ่ายนางศรีมาลานั้น ก็น้อยเนื้อต่ำใจเมื่อครั้งที่ถูกลอยแพ ก็บอกกับคนที่มาติดต่อว่า โนราคณะ นี้จะไปรำได้ แต่ต้องปูผ้าขาวตั้ง แต่ริมฝั่งที่ลงจากเรือจนไปถึงตำหนัก พระยาสายฟ้าฟาดก็ตอบตกลง

โนราห์ จิตวิญญาณของชาวใต้

ดังนั้น เทพสิงหล จึงไปรำในราชสำนัก เทพสิงหล รำได้สวยงามมาก จนพระยาสายฟ้าฟาด ก็ตกตะลึงในความสวยงาม จึงถอดเครื่องทรงที่ทรงอยู่ให้กับเทพสิงหล แล้วบอกว่า “เครื่อง แต่งกายกษัตริย์ชุดนี้มอบให้เป็นเครื่องแต่งกาย ของโนรานับแต่นี้เป็นต้นไป”

เทพสิงหลจึง บอกว่าแท้จริงแล้วเป็นหลานของพระยาสายฟ้าฟาด พระยาสายฟ้าฟาดจึงรับโนราไว้ ในราชสำนักและให้สิทธิแต่งกายเหมือนกษัตริย์ทุกประการ

โนราห์ จิตวิญญาณของชาวใต้

ขอบพระคุณข้อมูล นางสาวชุรีพร จ่าสอน
ขอบพระคุณภาพ คุณยุวเรต ศรุตานนท์
ที่มา – โบราณนานมา

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร