รู้ทันเจ้ากรรมนายเวร ทัศนคติและความเชื่อของแต่ละบุคคล

1771
views
รู้ทันเจ้ากรรมนายเวร

คำว่า “เจ้ากรรมนายเวร” นี้เป็นที่คุ้นหูในหมู่ชาวพุทธอยู่แล้ว แต่เรื่องที่จะสามารถปลงใจเชื่อได้หรือไม่ว่า “มีอยู่จริงหรือไม่” นั้นเป็นเรื่องทัศนคติและความเชื่อของแต่ละบุคคล

….เจ้ากรรมนายเวรนั้นหมายถึง ผู้ที่ถูกเราทำร้ายก่อนไม่ว่าจะเป็นสรรพสัตว์ชนิดใด คนนั้นอยู่ในประเภทเดียวกับสัตว์ด้วย และผู้ที่ถูกทำร้าย ทำลายขามีจิตที่อาฆาตต่อเราและต้องการให้เราได้ชดใช้ผลกรรมที่เราเคยทำกับเขาไว้

การเกิดขึ้นของเจ้ากรรมนายเวรเกิดขึ้นเพราะการเวียนว่าย ตาย เกิดของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงที่ยังไม่พ้นทุกข์นี้ เราทุกคนนั้นต่างก็เคยเกิดและตายมีภพชาติมานับไม่ถ้วนในอดีต ต่างก็ได้ทำทั้งกรรมดีและไม่ดีเอาไว้แบบนับไม่ถ้วนในภพชาติทั้งหลายนั้น เจ้ากรรมนายเวรเกิดขึ้นเนื่องจากเราได้ไปเบียดเบียนทำร้ายไว้ก่อนไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

เจ้ากรรมนายเวรมี ๒ ลักษณะคือ เจ้ากรรมนายเวรที่มองเห็น และเจ้ากรรมนายเวรที่มองไม่เห็น หรือบางตำราอาจจะเรียกแตกต่างกันไปว่า เจ้ากรรมนายเวรที่มีชีวิตและเจ้ากรรมนายเวรที่ไม่มีชีวิตก็ได้

เจ้ากรรมนายเวรที่มองเห็นหรือเจ้ากรรมนายเวรที่มีชีวิตนั้น มีความหมายว่าอยู่ “ในภพภูมิเดียวกับเรา” เป็นผู้ที่มาสร้างความเดือดร้อนให้กับเราได้ทางใดทางหนึ่งอาจเป็นได้ทั้ง พ่อแม่บุพการี,ลูกหลาน ที่สร้างแต่ความทุกข์ใจและกายให้เกิดขึ้นกับเราโดยตลอด หรือ

เพื่อนฝูงคนรู้จักที่คอยมาเบียดเบียนทำร้ายให้สูญเสียให้บาดเจ็บ ในลักษณะต่าง ๆหรืออาจเป็น สัตว์เดรัจฉานที่มีชีวิตแล้วเข้ามาทำร้ายเราให้ได้รับบาดเจ็บให้พิการหรือแม้กระทั่งถึงตาย ก็เป็นไปได้เช่นกัน

มืด

เจ้ากรรมนายเวรที่มองไม่เห็นหรือเจ้ากรรมนายเวรที่ไม่มีชีวิตนั้น มีความหมายว่า “เป็นผู้ที่อยู่ต่างภพภูมิกับเรา” หรือ อมนุษย์ เป็นสิ่งที่มองด้วยตาเนื้อไม่เห็น แต่ก็เป็นผู้ที่จะมาสร้างความเดือดร้อนให้เราได้ทางใดทางหนึ่ง ซึ่งวิธีการที่เขาจะก่อความเดือดร้อนให้เรานั้นอาจเป็นเรื่อง “เหลือวิสัย”

ของมนุษย์ธรรมดาจะรับรู้ได้ ซึ่งถ้าไม่สามารถทำกับเราโดยตรงได้ เขาอาจจะใช้วิธีดลจิตดลใจให้เราเผลอกระทำความชั่วให้ได้รับความลำบากแห่งผลกรรมชั่ว สร้างอุปสรรคใด ๆให้เกิดขึ้นอย่างที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเราได้แต่ก็เกิดขึ้น ฯลฯ

มืด

และสุดท้ายคือ เรื่องการ “ขอโทษหรือขออภัยกับเจ้ากรรมนายเวร” เมื่อจะทำการขอโทษเจ้ากรรมนายเวรเหล่านั้น ก็ต้องทำด้วยวิธีการเช่นเดียวกับเมื่อการที่เราจะตอบแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ

คือการ “ทำบุญทำกุศล” ด้วย “ความตั้งใจจริงที่จะอุทิศให้” แล้วก็ “ตั้งใจจริงที่จะบอกกล่าวให้รับรู้” ให้เจ้ากรรมนายเวรเหล่านั้นยอมรับความเจตนาอันจริงใจที่จะขอโทษและตอบแทนเขาด้วยคุณงามความดีด้วยความสุขที่เราตั้งใจจะมอบให้อันเป็นผลเกิดขึ้นจากการสร้างบุญกุศลและคุณงามความดีเหล่านั้น

เรียบเรียง : ธ.ธรรมรักษ์