หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า “วันธรรมสวนะ” อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น ๘ ค่ำ, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)
ปฏิทินวันพระ เดือนมกราคม 2567
วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีเถาะ
วันพุธที่ 10 มกราคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีเถาะ
วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
ปฏิทินวันพระ กุมภาพันธ์ 2567
วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีเถาะ
วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
วันเสาร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ(วันมาฆบูชา)
ปฏิทินวันพระ มีนาคม 2567
วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีเถาะ
วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
ปฏิทินวันพระ เมษายน 2567
วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
วันจันทร์ที่ 8 เมษายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีเถาะ
วันอังคารที่ 16 เมษายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ พฤษภาคม 2567
วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง(วันแรงงาน)
วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีมะโรง
วันพุธที่ 15 พฤษภาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง
วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง(วันวิสาขบูชา)
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง(วันอัฏฐมีบูชา)
ปฏิทินวันพระ มิถุนายน 2567
วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนหก(๖) ปีมะโรง
วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ กรกฎาคม 2567
วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเจ็ด(๗) ปีมะโรง
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง(วันอาสาฬหบูชา)
วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม 2567 แรม ๑ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง(วันเข้าพรรษา)
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง(วันเฉลิมฯ ร.10)
ปฏิทินวันพระ สิงหาคม 2567
วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะโรง
วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง(วันเฉลิมฯ วันแม่)
วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
วันอังคารที่ 27 สิงหาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ กันยายน 2567
วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า(๙) ปีมะโรง
วันอังคารที่ 10 กันยายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
วันอังคารที่ 17 กันยายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
วันพุธที่ 25 กันยายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ ตุลาคม 2567
วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ(๑๐) ปีมะโรง
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง(วันออกพรรษา)
วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด(๑๑) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ พฤศจิกายน 2567
วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายน 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง(วันลอยกระทง)
วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2567 แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีมะโรง
ปฏิทินวันพระ ธันวาคม 2567
วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2567 ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2567 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2567 แรม ๘ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม 2567 แรม ๑๔ ค่ำ เดือนอ้าย(๑) ปีมะโรง
ขอบคุณข้อมูล : myhora
ข้อเข่า โดยทั่วไปจะมีลักษณะคล้ายบานพับ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเดิน วิ่ง หรือออกกำลังกาย การดูแลข้อเข่าอย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันการเสื่อมก่อนวัย และลดปัญหาอาการปวดหรือข้ออักเสบที่อาจเกิดขึ้นได้ อาหารบำรุงข้อเข่าให้เสื่อมช้าลง ปลา ที่มีโอเมก้า 3 เช่น โดยเฉพาะอาหารทะเล เช่น… อ่านเพิ่มเติม..
• ท่านพระมหาโมคคัลลานะ พระเถระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์มาก คู่กับพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา พระมหาโมคคัลลานะ มีชื่อเดิมว่า "โกลิตะ" เป็นบุตรพราหมณ์ท้ายบ้านผู้หนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากกรุงราชคฤห์ โกลิตมาณพ เป็นเพื่อนสนิทกับอุปติสสมาณพ หรือ พระสารีบุตร… อ่านเพิ่มเติม..
พระพุทธเจ้าทรงแสดงอุบายแก้ง่วงแก่พระโมคคัลลานะ พระมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์ในหมู่บ้านโกลิตคาม ได้ชื่อว่า “โกลิตะ” ตามชื่อของหมู่บ้าน มารดาชื่อโมคคัลลี คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “โมคคัลลานะ” ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายที่รักกันมากับอุปติสสมาณพ (พระสารีบุตร) เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญ ตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย… อ่านเพิ่มเติม..
บทสวดมนต์ประจำวันเกิด แบบเต็มและแบบย่อทั้ง 7 วัน ตามกำลังวัน สวดก่อนนอนชีวิตราบรื่น ร่มเย็น เสริมสิริมงคล ประโยชน์ของการสวดมนต์ก็คือทำให้จิตใจเราผ่องใส และจิตใจสงบมากขึ้น ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ พระประจำวันเกิด คือ พระพุทธรูปปางถวายเนตร บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอาทิตย์… อ่านเพิ่มเติม..
อาการท้องผูก ท้องอืด ถึงแม้จะไม่ส่งผลอันตรายมากถึงชีวิตแต่ก็สร้างความอึดอัดไม่สบายท้อง หรืออาจลุกลามกลายเป็นโรคอันตรายในอนาคตได้ และที่สำคัญอาการเหล่านี้มักส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง! ผลไม้หลายชนิดอุดมไปด้วยใยอาหาร ทำให้การขับถ่ายง่ายขึ้น ผลไม้ 9 ชนิดช่วยขับถ่าย กากใยสูง แก้อาการท้องผูกชนิดไหนบ้างนั้น มาดูกันเลย 1.มะละกอสุก เป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงและหาทานง่าย… อ่านเพิ่มเติม..
เปรต "Preta" หมายถึงผี ตามความเชื่อในหลายศาสนาทั้ง ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ และศาสนาเชน ตามความเชื่อนั้น เปรตเป็นผีได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสกว่าเมื่อครั้งเป็นมนุษย์มาก โดยต้องทรมานกับความหิวโหยและความเจ็บปวดทางกาย ความเชื่อเรื่องเปรตมีต้นกำเนิดมาจากพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอินเดียตั้งแต่ยุคโบราณ และเริ่มแพร่กระจายสู่สังคมในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก คำว่า "Preta"… อ่านเพิ่มเติม..
This website uses cookies.