‘ยามอุบากอง’ เช็กฤกษ์ดี วันดีก่อนออกจากบ้าน

702
views
ยามอุบากอง

….คำว่า “อุบากอง” เดิมทีเป็นชื่อนายทหารเอกของพม่า ซึ่งเข้ามาตีไทยในสมัยต้นรัชกาล กรุงรัตน โกสินทร์นี้เองมีประวัติที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ดังนี้

อุบากอง เป็นนายทหารยศขุนพล ได้คุมกำลังเข้าโจมตี เมืองเชียงใหม่ เมื่อแรม 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย พ.ศ.2350 คราวที่พระเจ้าปะดุง ยก 9 ทัพมาตีไทยนั่นเอง แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่ปรากฏ อุบากองถูกฝ่ายไทยจับกุมตัวได้ คราวนั้นพ่อเมืองเชียงใหม่ ได้คุมตัวอุบากองส่งลงมายังกรุงเทพฯ

เมื่อขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย พ.ศ.2350 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตน โกสินทร์ จึงสั่งให้สอบสวนอุบากองทันที ปรากฏว่า อุบากองเป็นคนไทย เกิดในเมืองไทย เพราะมีพ่อ เป็นเชื้อสายพม่า แต่แม่เป็นเชื้อสายคนไทยแถบเมืองธนบุรี พระองค์จึงทรงพระเมตตา พระราชทาน เสื้อผ้า และให้นำไปจำขังไว้ที่คุกวัดโพธาราม (วัดพระเชตุพนฯ ในปัจจุบัน)

ระหว่างที่อุบากองกับพวกถูกจองจำ คุมขังที่คุกวัดโพธิ์ เขาได้สอนตำรายันต์ยามยาตรา ให้กับ พรรคพวก ซึ่งยามนี้ สามารถแหกคุกที่คุมขังได้ เมื่อพรรคพวกสามารถเรียนยามยาตราได้ ตามที่ตนบอกแล้ว อุบากองก็ทำพิธีตามหลักโหราศาสตร์ พอได้ฤกษ์งามยามดี จึงสามารถพากัน แหกคุกวัดโพธิ์ หลบหนีไปได้อย่างปลอดภัย โดยอุบากองกับพรรคพวก พากันหลบหนีไปยังเมือง พม่าได้

แต่ยามที่อุบากองบอกกับพรรคพวกนี้นั้น บังเอิญมีนักโทษพม่า ที่เป็นเชื้อสายไทยบางคน ไม่ได้หลบหนีไปด้วย จึงบอกเล่ากับผู้คุมนักโทษ จึงมีการนำมาเล่าเรียนกัน และให้ชื่อยามยาตรานี้ตามผู้ที่สอนวิธีดูให้ว่า “ยามอุบากอง” อนึ่ง ยามดังกล่าว ปรากฏว่า มีผู้นับถือว่า แม่นยำ ได้ผลจริงๆ ด้วย จึงศึกษาเล่าเรียนสืบๆ กัน มาตราบเท่าทุกวันนี้

จากหนังสือ “ประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ – รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๒๕-๒๓๙๔)” พิมพ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๓ โดยคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย

ยามอุบากอง หรือ ยามพม่าแหกคุก เป็นศาสตร์ที่คนโบราณต่างก็รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มีไว้เพื่อดูว่าวันดี เวลาดีในการทำสิ่งต่างๆ นั้นควรเป็นตอนไหน วันใดจะมีเคราะห์ วันใดจะมีลาภ ล้วนใช้ยามอุบากองบอกเหตุกันทั้งสิ้น

ภาพ – uamulet.com

ยามอุบากอง

ยามอุบากอง ไม่ได้ใช้เป็นเพียงแค่ฤกษ์ยามในการออกเดินทางดั่งเช่นในอดีตเท่านั้น หากยังถูกประยุกต์ กับฤกษ์ยามของการซื้อรถ ฤกษ์ออกรถ หรือเริ่มใช้รถวันแรก ฤกษ์เข้าพบลูกค้า ฤกษ์ออกเดินทาง ทั้งนี้เพราะวันเหล่านั้นเกี่ยวข้องกับการเดินทางด้วยเช่นเดียวกัน ลักษณะยามอุบากอง ยามอุบากอง ฤกษ์ดี วันดี

ศูนย์หนึ่ง อย่าพึงจร แม้ราญรอน จะอัปรา
สองศูนย์ เร่งยาตรา จะมีลาภ สวัสดี
ปลอดศูนย์ พูลสวัสดิ์ ภัยพิบัติ ลาภบ่มี
กากบาท ตัวอัปรีย์ แม้จรลี จะอัปรา
สี่ศูนย์ จะพูนผล แม้จรดล ดีหนักหนา
มีลาภ ล้นคณนา เร่งยาตรา จะมีชัย

โดยความหมายของกลอน สามารถตีความจากสัญลักษณ์บนตารางได้ดังนี้

ศูนย์หนึ่ง หมายความว่า อย่าเพิ่งเดินทางตอนนี้ อาจจะมีเคราะห์ได้
สองศูนย์ หมายความว่า เป็นฤกษ์ดี ให้รีบเดินทาง แล้วจะมีลาภเข้ามา
ปลอดศูนย์ หมายความว่า จะไม่มีทั้งโชคทั้งเคราะห์
กากบาท หมายความว่า ห้ามเดินทาง เพราะจะประสบกับเคราะห์ร้าย
สี่ศูนย์ หมายความว่า เป็นฤกษ์ดี ให้รีบเดินทาง แล้วจะมีลาภ ประสบความสำเร็จ

● ตัวอย่างที่ 1.
หากเราต้องการเดินทางไปสมัครงานในวันศุกร์ เวลากลางวัน 8:00
เวลาจากตารางยามอุบากอง เท่ากับว่า ได้สี่ศูนย์ คำทำนายคือ จะพูนผล จรดล ลาภมากมี

● ตัวอย่างที่ 2.
หากเราต้องการเดินทางไกลในวันเสาร์ เวลากลางคืน 19:00
เวลาจากตารางยามอุบากอง เท่ากับว่า ได้ศูนย์หนึ่ง คำทำนายคือ อย่าพึงจร แม้ราญรอน จะอัปรา

● ตัวอย่างที่ 3.
หากเราต้องการเดินทางไปหาลูกค้า วันพฤหัสบดี เวลากลางวัน 11:00
เวลาจากตารางยามอุบากอง เท่ากับว่า ได้สองศูนย์ คำทำนายคือ เร่งยาตรา จะมีลาภ สวัสดี ฯลฯ