อะมีบากินสมอง ไม่ใช่โรคระบาดจึงไม่ควรตระหนก

469
views

อะมีบากินสมอง หรือ “โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากอะมีบา” นี่ไม่ใช่โรคระบาด เกิดจากเชื้ออะมีบาชนิดนีเกลอเรีย (Naegleria fowleri) เชื้อนี้เป็นสัตว์เซลล์เดียวเหมือนอะมีบาอื่นๆ อาศัยอยู่ใน ธรรมชาติ มักจะอยู่ตามแหล่งน้ำจืดที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูง หรือแหล่งน้ำ ขังในเขตอุตสาหกรรมและในดินในเขตร้อนหรือเขตอบอุ่น เกือบทั่วโลก เป็นเชื้อที่ชอบอยู่อิสระมากกว่าอยู่ในคนหรือสัตว์ แต่หาก เข้าไปในคนหรือสัตว์จะทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่รุนแรงและ เฉียบพลัน

อะมีบาแทรกซึมเข้าไปในจมูกของมนุษย์ (Photo: Getty)

เชื้อ Naegleria เข้าสู่คนได้ก็ต่อเมื่อ “สำลักน้ำที่มีเชื้ออะมีบานั้นเข้าจมูก” โดยการว่ายน้ำหรือดำน้ำและเกิดการสำลักน้ำเข้าจมูกอย่างรุนแรง เชื้อที่ปนอยู่ในน้ำ จะผ่านเข้าทาง ประสาทรับรู้กลิ่นในจมูก (Olfactory nerve) และเข้าสู่สมอง ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ผู้ป่วยมักเสียชีวิต ก่อนได้รับ การวินิจฉัย เนื่องจากอาการจะเลวลงอย่างรวดเร็วทำให้ผุ้ป่วยเกือบทั้งหมดเสียชีวิต ภายใน 10 วัน

แต่โอกาสที่คนเราจะติดเชื้ออะมีบาจนถึงขั้นสมองอักเสบ และเสียชีวิตนั้นมีน้อยมาก

โรคอะมีบากินสมองหรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า Primary amebic meningoencephalitis (PAM) มีรายงานครั้งแรกจากประเทศออสเตรเลียเมื่อปี 2508 ทั่วโลกมีรายงานโรคนี้ประมาณ 400-500 ราย ส่วนในไทยก็พบผู้ป่วยน้อยมาก ครั้งแรกรายงานพบผู้ป่วยในปี 2525 และล่าสุดมีรายงานคนไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากเชื้ออะมีบาทั้งหมดเพียง 12 รายเท่านั้น ส่วนมากจะเป็นชายมากกว่าหญิง อายุเฉลี่ย 15.2 ปี

คนไทยจึงไม่ควรตระหนกกับโรคอะมีบากินสมอง เพราะปีหนึ่งๆ เด็กไทยอายุ ระหว่าง 1-4 ปี เสียชีวิตจากการเล่นน้ำและจมน้ำตายเฉลี่ยปีละ 1,481 ราย หรือ เฉลี่ยวันละ 4 ราย ถือเป็นสาเหตุการตายสูงสุดสำหรับเด็กวัยนี้มากกว่าสำลักน้ำ แล้วติดเชื้ออะมีบากินสมองไม่รู้กี่เท่า

บทความต้นฉบับ