กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ ที่ยึดถือปฏิบัติเพื่อความเป็นสิริมงคล

295
views

วันขึ้นปีใหม่ในประเทศไทยได้ถูกปรับเปลี่ยนมาแล้วทั้งหมด 4 ครั้ง ตามปฏิทินการเปลี่ยนแปลงนักษัตร และเดือนตามจันทรคติ ได้แก่

– วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย
– วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์
– 1 เมษายน พ.ศ. 2432
– 1 มกราคม พ.ศ. 2484

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นิยมใช้วันขึ้นปีใหม่ในช่วงวันสงกรานต์ ดังนั้นจึงมีชาวไทยส่วนหนึ่งที่ยังยึดถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยอยู่

เทศกาลวันปีใหม่ได้จัดเป็นวันเฉลิมฉลองในรูปแบบงานรื่นเริงครั้งแรกในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2477 เรียกว่าวันตรุษสงกรานต์ เหตุผลที่ราชการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็น 1 มกราคม ตามหลักสากล เพื่อยกเลิกการนับปีใหม่ของลัทธิพราหมณ์กับพระพุทธศาสนา โดยใช้วันขึ้นปีใหม่ตามหลักสากลทั่วโลกไม่ให้ขัดต่อหลักพระพุทธศาสนาด้านการนับวัน รวมถึงการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติ

ทำบุญตักบาตร

● การทำบุญตักบาตร

การทำบุญตักบาตรซึ่งอาจจะตักบาตรที่บ้าน ที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการได้มีการประกาศเชิญชวนให้ไปร่วมทำบุญทำบุญตักบาตรโดยอาจนิมนต์มาพระมาจากหลายๆ ที่จำนวนมาก เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสทำบุญ หรือทำกุศลอื่นๆ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว หรือการไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่น นอกจากนี้อาจทำทานด้วยการปล่อยนก ปล่อยปลา ก็ได้เช่นกัน

● ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด

ก่อนวันขึ้นเทศกาลปีใหม่ ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำการปัดกวาดบ้านเรือนของตัวเองให้สะอาด เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นการส่งท้ายปีเก่าที่ปัดเป่าสิ่งเก่า ๆ ออกไปจากบ้านเราด้วย เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมถึงการประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนอีกด้วย

● จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ รับประทานอาหารกับเพื่อนฝูง และครอบครัว

● กราบขอพรจากผู้ใหญ่ในครอบครัว หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ

● สวดมนต์ข้ามปี

เอาใจสายบุญกันหน่อย กิจกรรมส่งท่ายปีเก่าที่ได้บุญ อิ่มอกอิ่มใจเลยนั่นก็คือการสวดมนต์ข้ามปี ไม่ว่าจะไปสวดที่วัดหรือที่บ้านก็ได้บุญเช่นเดียวกัน เตรียมตัวรับแต่สิ่งดี ๆ ที่เข้ามาในชีวิตในปีถัดไปด้วยการสวดมนต์ข้ามปีกันหน่อย ตามสถานที่ศาสนาอื่นๆ ที่มักจะจัดพิธีสวดมนต์ข้ามปี โดยจะนุ่งขาวห่มขาว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ พิธีสวดมนต์ข้ามปีกลายเป็นวิวัฒนาการของประเพณีไทยในสมัยหนึ่ง ถือว่าเป็นการส่งเสริมประเทศชาติให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข