ทาน-ศีล-ภาวนา มีความน่าอัศจรรย์ เกิดผลจริงแก่ผู้กระทำ

3411
views
ทาน-ศีล-ภาวนา

หลายคนอาจจะสงสัยว่าการปฏิบัติธรรมแล้วได้อะไรเป็นจุดเป้าหมายของชีวิต การปฏิบัติธรรมก็คือการเอาธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ไปปฏิบัติ ในชีวิตประจำวัน  ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

ทำบุญให้ทาน

ทานและศีลเป็นพื้นฐานสำคัญของการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น โดยทานนั้นจะช่วยขัดเกลาจิตให้เป็นผู้ที่มีเมตตา ส่วนการรักษาศีลนั้น ก็เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะพัฒนาจิตให้สูงขึ้น การจะเป็นอริยบุคคลได้จะต้องมีศีล ๕ เป็นเครื่องรองรับ ทานและศีลถือเป็นธรรมพื้นฐานที่ฆราวาสผู้ครองเรือนจะต้องประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีทานและศีลย่อมเป็นคนดีมีคนรัก

อย่างไรก็ตาม ทานและศีลก็ยังไม่ใช่หลักประกันที่จะช่วยให้ชีวิตมีความสุขได้ ความสุขที่แท้จริงคือการเอาชนะกิเลสตัณหาซึ่งครอบงำจิตมาตั้งแต่เกิด และจะชักนำจิตให้ยึดมั่นสำคัญผิดในสิ่งที่ได้ มีและเป็น การยึดติดกับสิ่งใดก็จะทุกข์กับสิ่งนั้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องเจริญ ภาวนา ควบคู่กันไปด้วย เพราะภาวนาจะเป็นกำลังสำคัญที่จะเอาชนะกิเลสตัณหาได้

ภาวนา ก็คือการพัฒนาจิตให้มีคุณภาพและคุณธรรมสูงขึ้น โดยการปฏิบัติ สมถภาวนาหรือสมถกรรมฐาน และ ปัสสนาภาวนาหรือวิปัสสนากรรมฐาน

วันสมาธิโลก

สมถกรรมฐาน คือการทำสมาธิเพื่อให้จิตตั้งมั่นอยู่ในความสงบ อันจะช่วยให้จิตมีพลัง มีความอิ่มเอิบเบิกบานและมีความสุขคลายจากความเครียด การปฏิบัติสมถกรรมฐานจึงเป็นที่นิยมและสอนกันอยู่โดยทั่วไป

วิปัสสนากรรมฐาน คือการพัฒนาจิตให้เกิดปัญญา เข้าใจความเป็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายมีเพียง รูป กับ นาม  รูปนั้นมีโครงสร้างประกอบด้วยธาตุ ๔ อันมีดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนนามคือจิตที่เข้าไปอาศัยอยู่ในรูป เกิดเป็นชีวิตหนึ่ง ๆ ขึ้นมา

สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม หากปฏิบัติได้ถูกต้อง ปฏิบัติถูกทาง ย่อมประสบความอัศจรรย์ดังต่อไปนี้

วันสมาธิโลก

๑. โกรธน้อยลง เห็นความโกรธเร็วขึ้น
๒. เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ตัดสินถูกผิดน้อยลง
๓. เห็นความไม่ดีของตนมากขึ้น เห็นความดีของผู้อื่นมากขึ้น
๔. รับฟังมากขึ้น อยากอวดภูมิรู้น้อยลง
๕. ไม่อยากโกหก หลีกเลี่ยงการนินทา พูดน้อยลง

นั่งทำสมาธิ

๖. แสวงหาความสุขแบบกามคุณน้อยลง กิน ดื่ม เที่ยว ต้องการสุขแบบโลกๆ น้อยลง
๗. มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้น
๘. ใช้เงินเพื่อตนเองน้อยลง เพราะความต้องการน้อยลง
๙. สนใจฟังเรื่องละกิเลส ไม่ค่อยสนใจเรื่องเพิ่มกิเลส
๑๐. ไม่จุกจิกจู้จี้ ไม่ขี้บ่น ไม่คิดมาก

๑๑. ละอายใจเมื่อคิดชั่ว มีความเมตตามากขึ้น คิดถึงผลประโยชน์ของส่วนร่วมมากขึ้น
๑๒. รักษาข้าวของเครื่องใช้มากขึ้น แต่ไม่หวงแหน
๑๓. ยึดในตัวผู้อื่นน้อยลง ต้องการความเข้าใจน้อยลง เป็นอิสระจากผู้อื่นมากขึ้น
๑๔. หลับสบาย ไม่ค่อยฝัน ควบคุมเวลาตื่นนอนได้ดังใจ
๑๕. ไม่เห็นสิ่งต่างๆ เป็นบวกหรือลบ เห็นเพียงความธรรมดาของโลก

พระพุทธเจ้า

๑๖. คลุกคลีกับหมู่คณะตามกาลเทศะ ไม่คลุกคลีตามอำเภอใจ
๑๗. รับรู้ความงามจากธรรมชาติได้มากขึ้น รักต้นไม้มากขึ้น
๑๘. ไม่อยากสะสมอะไร มีของเท่าที่จำเป็น
๑๙. อยากได้อะไรมักสมหวัง คิดอะไรมักได้ดังใจ
๒๐. เห็นปัญหาเป็นเรื่องสนุก ขำขัน มองแล้วยิ้ม

ตักบาตรวันอาทิตย์ ณ ถนนสายวัฒนธรรมหน้าวัดพระหาธาตุ วรมหาวิหาร

๒๑. ไม่ค่อยสนใจคำสรรเสริญนินทา
๒๒. เจอคนดีมากขึ้น พบครูผู้ชี้ทางเจริญได้
๒๓. ไม่กลัวใคร เห็นทุกคนเป็นเพื่อนเสมอกัน
๒๔. ต้องการควบคุมผู้อื่นน้อยลง ต้องการเปลี่ยนความคิดผู้อื่นน้อยลง มั่นใจตัวเองมากขึ้น
๒๕. ค้นพบสิ่งน่าสนใจรอบตัวที่ไม่เคยพบมากก่อน

พระศาสนา

๒๖. คาดเดาอนาคตได้ถูกต้องมากขึ้น
๒๗. คิดถึงความตายมากขึ้น เห็นชีวิตแสนสั้นแต่มีคุณค่า
๒๘. ความสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น คิดนอกกรอบ แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ความคิดเป็นระบบมากขึ้น
๒๙. ความรู้สึกเหงาหายไป
๓๐. อยู่กับลมหายใจได้นานขึ้น ดึงสติกลับมารู้ตัวได้เร็ว