การปฏิบัติธรรม อย่างไรจึงจะถูกต้องถูกทาง? ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก

1688
views
การปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์

หัวใจของ การปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์นั้น ต้องทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าไม่รู้วิธีและแนวทาง ก็จะทำให้เสียเวลา ไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง หรือไม่ประสบความสำเร็จ กว่าจะลองผิดลองถูก กว่าจะเข้าใจ ก็อาจเสียเวลาไปนาน

สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ทรงเน้นสอนและแสดงโทษของการยึดมั่นอยู่ในอุปาทาน “ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์”

พระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อการตรัสรู้ เพื่อเข้าสู่มรรคผลนิพพาน คือพระองค์จะทรงหยิบยกและแสดงธรรมในเรื่อง “อริยสัจ ๔” เป็นส่วนมาก และในการแสดงธรรมอริยสัจ ๔ แต่ละครั้งนั้น จะมีทั้งอุบาสก อุบาสิกา พระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีได้ ดวงตาเห็นธรรม เป็นจำนวนมาก

พระพุทธเจ้า

ในอริยสัจ ๔ พระองค์จะทรงเน้นแสดงตัว “สมุทัย” คือเหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ “ตัณหา” ความอยากได้และความไม่อยากได้ในกองขันธ์ ๕ อันเป็นเหตุปัจจัยส่งผลให้เราเป็นสุขและเป็นทุกข์ เช่น เวลาขันธ์ ๕ เป็นสุขก็ยึดไว้ เวลาขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ก็ผลักไส

จึงเกิดความลำบากเพราะพยายามที่จะแก้ไข คือ อยากวิ่งหนีทุกข์และอยากวิ่งหาสุข แต่โดยความเป็นจริงของสัตว์และมนุษย์

เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วมีแต่กองแห่งทุกข์ หาความสุขไม่เจอ เท่าที่สังเกตดูมีแต่ทุกข์น้อยกับทุกข์มากเท่านั้นเอง ฉะนั้นจึง มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป

พระพุทธเจ้า

รวมแล้วขณะที่ยังมีชีวิต คือมีขันธ์ ๕ อยู่ เราจะต้องอยู่กับกองแห่งทุกข์อยู่ตลอด มีวิธีเดียวที่จะไม่ทุกข์ คือไม่มาเกิดอีก เมื่อไม่มาเกิดอีกก็ไม่มีขันธ์ ถ้าไม่มีขันธ์ก็ไม่มีทุกข์ เพราะทุกข์มีที่ขันธ์ ไม่ใช่มีที่จิต

แต่เหตุที่มาเกิดก็เพราะความหลง ได้แก่ “อวิชชา” คือความไม่รู้ความจริง ไปยึดขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน จิตจึงเกาะติดขันธ์ ๕ พาให้เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จักจบสิ้น และก็มาทุกข์เพราะขันธ์ ๕ อยู่ทุกชาติไป นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์

พระพุทธเจ้า

เราต้องมาทำลายเหตุของการเกิดก่อน คือทำลายความยึดมั่นถือมั่นในกองขันธ์ ๕ ให้ได้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมาพิจารณากาย – ใจ คือขันธ์ ๕ นี้ โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์โดยความไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน

เพื่อให้จิตเกิดความเบื่อหน่าย แล้วจิตจะได้ถอดถอนความยึดมั่นถือมั่นใน กาย – ใจ นี้เสียได้ จิตจะไม่หลงไปเกาะติดกับขันธ์ คือถอนตัวเป็นอิสระอยู่เหนือขันธ์ ทั้งที่มีความทุกข์ของขันธ์อยู่ “แต่จิตสบาย” ไม่ทุกข์ไปกับขันธ์ เพราะยอมรับความจริงว่าเกิดมามีขันธ์ก็ต้องทุกข์แบบนี้ ไม่มีใครหนีพ้น

คาถาเสริมดวง

จงพิจารณาว่าก่อนที่เราจะเกิดมาเป็นมนุษย์ เราก็ไม่มีรูปกายนี้มาก่อน เมื่อเกิดมามี รูปกาย แล้วจึงมี เวทนาความสุข – ทุกข์ – เฉย ๆ ตามมา จึงมี สัญญา ความจำได้หมายรู้ตามมา จึงมี สังขาร ความคิดปรุงแต่งตามมา จึงมี วิญญาณ ความรับรู้รับทราบตามมา

เมื่อ รูปกาย นี้ดับ เวทนา ก็ดับ สัญญา ก็ดับ สังขาร ก็ดับ วิญญาณ ก็ดับ จึงไม่เหลือความเป็นเราอยู่ตรงไหนอีกเลย นี่แหละที่เราหลงกัน จึงเรียกว่า หลงสมมติ หลงของชั่วคราว

ทั้งที่ยึดเอาไว้ก็ยึดไม่ได้ แก้ไขก็ไม่ได้ แล้วแต่เขาจะเป็นไป และท้ายที่สุดก็ดับสลาย ตายจากไปไม่มีเหลือ และขณะอยู่ก็เป็นทุกข์ด้วย ทุกข์ตลอดเวลาที่เราอาศัยเขาอยู่

พระพุทธเจ้า

เมื่อเรามาพิจารณาใน กาย – ใจ โดยความเป็นทุกข์และเป็นธรรมชาติของเขา ว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์อันหนึ่งของธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปตามสภาวะของเขา โดยไม่มีใครไปบังคับบัญชาเขาได้ แม้แต่เราผู้ที่ไปรู้สมมตินี้เกิดมาจากธรรมชาติเช่นกัน หาได้เป็นตัวเป็นตนไม่

เมื่อเรามาพิจารณา ขันธ์ กับ จิต ว่าเป็นธรรมชาติที่เกิดดับ หาความเป็นตัวเป็นตนไม่ได้ จิตก็จะปล่อยวาง รูปขันธ์ และ นามขันธ์ เสียได้ จึงต้องทำบ่อย ๆ พิจารณาขันธ์ ๕ และการทำงานของขันธ์ ๕ โดยแยกให้เห็นหน้าที่แต่ละตัวและอาการต่าง ๆ ของเขาจนชัดเจน

มองหาและสังเกตอยู่ตลอดเวลาเท่าที่มีเวลา โดยไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธิเสมอไป ทำได้ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง นอน เพราะการที่เรากำหนดดูอยู่ที่กายก็เป็นสมาธิอยู่แล้ว แต่ไม่ได้หมายเอาความสงบ เพราะความสงบ ตรัสรู้ ไม่ได้ เพราะขณะที่มีความสงบ ตัวสังขารจะไม่ทำงาน เมื่อสังขารไม่ทำงาน จะเกิด ปัญญา ไม่ได้ ต้องอาศัยการคิดค้นจึงจะรู้ความจริง

พระพุทธเจ้า

เมื่อเข้าใจความจริงแล้วจึงปล่อยวางตัวสังขารอีกที เพราะคิดค้นจึงรู้ เมื่อรู้แล้วจึงปล่อยวางความคิดไป เพราะความคิดก็เป็นเพียง สังขารขันธ์ เป็นของ สมมติ เป็นของไม่เที่ยงเช่นกัน ทำและพิจารณาอย่างนี้ไปนาน ๆ ก็จะเกิดความชำนาญขึ้นเอง เมื่อชัดเจนขึ้น จิตจะยอมรับเอง และปล่อยวางในที่สุด

ถ้ายังไม่ปล่อยวางก็ทำต่อไป จนเข้าไปเห็นความจริง แล้วจิตจะยอมรับ ทำซ้ำ ๆ โดยการหาเราในความเป็นรูป และหาเราในความเป็นนาม ว่ามีเราอยู่ตรงไหน ให้เน้นดูใน ธาตุทั้ง ๔ ในกายนี้ว่ามีเราอยู่ตรงไหน ในเมื่อหาเราในธาตุทั้ง ๔ ที่กายว่าไม่มีเราแล้ว ก็ยก นามทั้ง ๔ ขึ้นมาหาว่ามีเราอยู่ตรงไหน

พุทธศาสนา

เมื่อนามทั้ง ๔ ไม่มีเราแล้ว ก็ย้อนกลับมาหาเราใน ตัวผู้รู้ ว่ามีเราอยู่ตรงไหน ทั้งที่ตัวผู้รู้ก็เป็น วิญญาณขันธ์ นั่นเอง ก็ไม่เที่ยงเช่นกัน

เมื่อเห็นอย่างนี้จะมีอะไรให้หลง เพราะทุกอย่างเป็น สมมติของขันธ์ ๕ ทั้งหมดเลย จึงต้องวางทั้งหมด จะได้ชื่อว่าปล่อยวาง สมมติ เพื่อเข้าสู่ความเป็น วิมุตติ คือหลุดพ้นจากการยึดมั่นในสมมติทั้งปวง

หัวใจของ การปฏิบัติธรรม โดย พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร