ประวัติความเป็นมา”วันออกพรรษา” และประเพณี”ตักบาตรเทโว”ในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก

824
views
วันออกพรรษา

วันออกพรรษา 2566 กิจกรรมตักบาตรเทโว การทำบุญในวันออกพรรษา
การ ทำบุญวันออกพรรษา นั้นเรียกว่า การทำบุญตักบาตรเทโว หรือตักบาตรเทโวโรหณะ หรือตักบาตรดาวดึงส์ การตักบาตรเทโว จะกระทำในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คือหลังออกพรรษาแล้ว 1 วัน

วันออกพรรษา คือ วันสุดท้ายในการจําพรรษาของ พระภิกษุสงฆ์หรือวันที่สิ้นสุดระยะการจําพรรษาของพระภิกษุ ตามวินัยบัญญัติ โดยพระวินัยบัญญัติให้พระภิกษุต้องอยู่ประจําท่ี หรืออยู่ในวัดแห่งเดียวตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ในช่วงฤดูฝน ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (หรือข้ึน ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ในกรณีเข้าพรรษาหลัง) ของทุกปี วันออกพรรษา ๒๕๖๖ ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๖

ประวัติความเป็นมาของวันออกพรรษา

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประทับจําพรรษาอยู่ ณ พระเชตวัน มหาวิหารกรุงสาวัตถีน้ัน มีพระภิกษุกลุ่มหนึ่งแยกย้ายกันจําพรรษา อยู่ตามอารามรอบ ๆ นคร พระภิกษุเหล่าน้ันเกรงจะเกิด
การขัดแย้งทะเลาะวิวาทกันจนอยู่ไม่เป็นสุขตลอดพรรษา จึงได้ต้ังกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร) เม่ือถึงวันออกพรรษา พระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องท้ังหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าจึงทรงตําหนิว่าอยู่กันเหมือนฝูงปศุสัตว์ แล้วทรงมี พระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทําการปวารณาต่อกันว่า

“อนุชานามิ ภิกขะเว วัสสัง วุตถานัง ภิกขูนัง ตีหิ ฐาเนหิ
ปะวาเรตุง ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา…”

แปลว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จําพรรษาแล้วปวารณากัน
ในสามลักษณะ คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี”

ความสําคัญของวันออกพรรษา

๑. พระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมท่ีอื่นได้

๒. เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์จะได้นําความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับ ระหว่างพรรษาไปเผยแพร่แก่ประชาชน

๓. ในวันออกพรรษา พระสงฆ์ได้ทําปวารณา เปิดโอกาสให้เพ่ือนภิกษุว่ากล่าวตักเตือน เรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธ์ิ ความเคารพนับถือ และความสามัคคีกันระหว่าง สมาชิกของสงฆ์

๔. พุทธศาสนิกชนได้นําแบบอย่างไปทําปวารณาเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเอง เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป

การถือปฏิบัติวันออกพรรษาในประเทศไทย

วันออกพรรษานี้ เป็นวันปวารณาของพระสงฆ์ โดยตรงที่จะต้องประชุมกันทําปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรม สําหรับพุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ก็ถือว่าเป็นวันพระสําคัญ มักนิยมไปทําบุญทําทานรักษาศีลและฟังธรรมเป็นกรณีพิเศษ นอกจากน้ียังมีประเพณีเนื่องด้วยวันออกพรรษาอีกอย่างหน่ึง เรียกว่า “ประเพณีตักบาตรเทโว”

คําว่า “ตักบาตรเทโว” มาจากคําเต็มว่า “ตักบาตรเทโวโรหณะ” คือการตักบาตรเนื่องใน โอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์เป็นคู่ ๆ) ที่ต้นมะม่วง ใกล้เมืองสาวัตถีแล้ว ก็เสด็จขึ้นไปจําพรรษาที่ ๗ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา ๓ เดือน ครั้นออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ
สําหรับพิธีตักบาตรเทโวโรหณะ ท่ีนิยมกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ นิยมจัดทําข้ึนในวัด และ ถือเป็นหน้าที่ของทางวัดน้ัน ๆ และทายก ทายิการ่วมกันจัด โดยมีวิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑. ก่อนถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นกําหนดวันทําบุญตักบาตรทางวัดจะจัดให้มี งานทําบุญตักบาตรเทโวโรหณะ โดยสิ่งท่ีต้องเตรียม คือ

ก) รถทรงพระพุทธรูป หรือคานหามพระพุทธรูป เพื่อชักหรือหามนําหน้าพระสงฆ์ ในการรับบาตร มีท่ีตั้งพระพุทธรูปทรงกลางประทับรถหรือคานหามด้วยราชวัติ ฉัตร ธงโดยรอบ พอสมควร มีที่ตั้งบาตรสําหรับรับบิณฑบาตตรงหน้าพระพุทธรูป ส่วนตัวรถหรือคานหามก็ประดับ ประดาให้งดงามได้ตามกําลังและศรัทธา สามารถใช้อุบาสกเป็นผู้เชิญพระพุทธรูปก็ได้ และมีผู้ถือบาตร ตามสําหรับบิณฑบาต

ข) พระพุทธรูปยืน ๑ องค์ จะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ ถ้าได้พระปางอุ้มบาตร ถือว่าเหมาะกับเหตุการณ์ที่สุด แต่ถ้าไม่มีพระปางอุ้มบาตร สามารถใช้พระปางห้ามญาติ ปางห้ามสมุทร ปางรําพึง ปางถวายเนตร หรือปางลีลา ปางใดก็ได้ เพียงแต่ขอให้เป็นพระพุทธรูปยืนเท่านั้น ทั้งนี้ ไว้สําหรับเชิญขึ้นประดิษฐานบนรถทรงหรือคานหาม แล้วชักหรือหามนําขบวนรับบาตรเทโวโรหณะ โดยพระพุทธรูปนี้เป็นองค์แทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ค) เตรียมสถานท่ีให้ทายก ทายิกาตั้งเครื่องใส่บาตร โดยจะจัดลานวัดหรือบริเวณ รอบ ๆอุโบสถ เป็นท่ีกลางแจ้ง จัดให้ตั้งเป็นแถวเรียงรายติดต่อกันไปเป็นลําดับ ๆ ถ้าทายก ทายิกา ไม่มากนัก ก็จัดแถวเดียวให้นั่งใส่อยู่ด้านเดียวกันทั้งหมด แต่ถ้ามากก็ให้จัดเป็น ๒ แถว โดย น่ังหันหน้าเข้าหากัน เว้นช่องกลางระหว่างแถวทั้ง ๒ ไว้สําหรับพระเดินรับบิณฑบาตพอสมควรก็ได

ฆ) แจ้งกําหนดการต่าง ๆ ให้ทายก ทายิกา ทราบล่วงหน้าก่อนว่าจะกําหนดให้ทําบุญตักบาตรพร้อมกัน เวลาใด ซึ่งวัดบางแห่งจัดให้มีพระธรรมเทศนา อนุโมทนาทาน หลังจากพระรับบาตรและฉันเสร็จแล้ว ๑ กัณฑ์ด้วย และวัด บางแห่งทายก ทายิกามีศรัทธาแรงกล้าก็จะขอให้ทางวัดจัดให้มี เทศน์ปุจฉาวิสัชนาในตอนบ่ายอีก ๑ กัณฑ์ แต่อย่างไรก็ตาม ส่ิงท่ีสําคัญคือ ต่อจากทําบุญตักบาตรนี้แล้วจะมีพิธีอะไรต่อไป ก็ต้องแจ้งกําหนดให้ทราบทั่วกันก่อนวันงาน

๒. สําหรับทายก ทายิกาผู้ศรัทธาจะทําบุญตักบาตรเทโวโรหณะ เมื่อทราบกําหนดจาก ทางวัดแล้ว จะต้องตระเตรียมและดําเนินการ ดังนี้

ก) เตรียมภัตตาหารสําหรับใส่บาตรตามศรัทธาของใส่บาตรนอกจากข้าว เครื่องคาวหวาน จัดเป็นห่อสําหรับใส่บาตรพระรูปหนึ่ง ๆ ตามธรรมเนียม แล้วยังมีสิ่งหน่ึงซึ่งถือเป็นประเพณี จะขาดเสียมิได้ในงานทําบุญตักบาตรเทโวโรหณะ นั่นคือ ข้าวต้มลูกโยน เพราะถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ ของงานนี้โดยเฉพาะ จึงจําเป็นต้องเตรียมของส่ิงนี้ไว้ใส่บาตรด้วย

ข) เมื่อถึงกําหนดวันตักบาตรเทโวโรหณะ ก็นําเครื่องใส่บาตรทั้งหมดไปตั้งวาง ยังสถานท่ีท่ีทางวัดจัดเตรียมให้ รอจนขบวนพระมาถึงตรงหน้าตนจึงใส่บาตร โดยให้ใส่ต้ังแต่ พระพุทธรูปในรถ หรือคานหามที่นําหน้าพระสงฆ์ไปเป็นลําดับ จนหมดพระสงฆ์ที่รับบิณฑบาตหรือ หมดของท่ีเตรียมมา

ค) เมื่อใส่บาตรแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี แต่ถ้าทางวัดจัดให้มีเทศน์ด้วย และพุทธบริษัท ผู้ศรัทธาจะฟังธรรมต่อ ก็ให้รออยู่ท่ีวัดจนถึงเวลาเทศน์หรือจะกลับบ้านก่อน แล้วมาฟังเทศน์เม่ือถึง เวลาเทศน์ก็ได้ตามแต่อัธยาศัย

การร่วมพิธีทําบุญตักบาตรเทโวโรหณะน้ี พุทธศาสนิกชนจะได้พร้อมใจกันทําบุญกุศล ต่าง ๆ ตามคติประเพณีท่ีเคยประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณกาล นอกจากจะได้บุญกุศล จากการทําบุญแล้ว ยังก่อให้เกิดความสามัคคีภายในชุมชน เพราะคนทั้งหลายเหล่าน้ันย่อมจะมา ร่วมแรงร่วมใจกันจัดการ เตรียมงาน และดําเนินพิธีตักบาตรเทโวโรหณะให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
หลักธรรมท่ีควรปฏิบัติ

ในเทศกาลออกพรรษานี้ มีหลักธรรมสําคัญท่ีควรนําไปปฏิบัติ คือ ปวารณา ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้อ่ืนว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ

๑. ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ท่ีตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่า มีเมตตาทางกาย ทางวาจา และทางใจพร้อมมูล

๒. ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ดีใจ มีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้

การปวารณาน้ี จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดํารงความบริสุทธิ์ หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณาแม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนํามาประยุกต์ใช้กับ สังคมชาวบ้านได้ด้วย เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในสถานศึกษา ในสถานท่ี ทํางาน พนักงานในห้างร้าน บริษัท และหน่วยราชการ เป็นต้น

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
๑. ทําบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
๒. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
๓. ร่วมกุศลธรรม “ตักบาตรเทโว”
๔. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
และประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัดและสถานที่สําคัญทางพระพุทธศาสนา
๕. ตามสถานที่ราชการ สถานท่ีศึกษาและท่ีวัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย
หรือบรรยายธรรมเก่ียวกับวันออกพรรษา ฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

บทความต้นฉบับ – กระทรวงวัฒนธรรม
ภาพ – dhammathai.org