ชื่อพฤกษศาสตร์ใหม่ของ “ผักหวานบ้าน” ผักพื้นบ้านสรรพคุณทางยา

700
views

“ผักหวานบ้าน” ชื่ออื่นๆ : ผักหวาน, ผักหวานบ้าน (ทั่วไป); ผักหวานใต้ใบ (สตูล); มะยมป่า (ประจวบคีรีขันธ์); ก้านตง, จ๊าผักหวาน (ภาคเหนือ); โถหลุ่ยกะนีเด๊าะ (กะเหรี่ยง -แม่ฮ่องสอน); นานาเซียม (มลายู-สตูล)

ชื่อพฤกษศาสตร์ใหม่ของ “ผักหวานบ้าน”

ผักหวานบ้าน ไม้ป่าที่นำมาปลูกเป็นผักพื้นบ้าน ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีชื่อพฤกษศาสตร์ใหม่ว่า (L.) Chakrab. & N.P.Balakr. ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่ค่อยแพร่หลายนัก เนื่องจากที่ผ่านมาพรรณไม้ชนิดนี้ได้รู้จักกันในชื่อ (L.) Merr. มาช้านาน

ผักหวานบ้านมีชื่อดั้งเดิมที่ตั้งชื่อถูกต้องตามกฎเกณฑ์ (basionym) ว่า L. ตีพิมพ์ในวารสาร Mantissa Plantarum เล่มที่ 1 หน้า 128 ค.ศ. 1767 หรือเมื่อ 255 ปีมาแล้ว ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาได้ถูกเปลี่ยนชื่อพฤกษศาสตร์หลายครั้ง

ในปี ค.ศ. 1903 ศาสตราจารย์ ดร. Elmer Drew Merrill นักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้ย้ายผักหวานบ้านไปอยู่สกุล Sauropus ใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า (L.) Merr. ล่าสุดในปี ค.ศ. 2012 ดร. Tapas Chakrabarty และ ดร. Nambiyath Puthansurayil Balakrishnan นักพฤกษศาสตร์ชาวอินเดีย ได้ย้ายผักหวานป่าไปอยู่สกุล Breynia ใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า (L.) Chakrab. & N.P.Balakr.

ผักหวานบ้าน เป็นไม้พุ่ม สูง 1-4 ม. ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปไข่ ดอกแยกเพศร่วมต้น ช่อดอกแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ ดอกสีเขียวอมเหลืองหรือสีแดงเข้ม ผลรูปทรงกลมแป้น เมื่อแก่แตกเป็น 3 ซีก พบทุกภาค ขึ้นในป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ เขาหินปูน ชายป่า นิยมนำมาปลูกเป็นผักพื้นบ้าน ยอดอ่อน รับประทานเป็นผัก ในทางสมุนไพร ราก แก้ไข้ ถอนพิษไข้กลับ ไข้ซ้ำ ถอนพิษผิดสำแดง และแก้คางทูม ลำต้นและใบ แก้ตาอักเสบ แผลในจมูก ใบ พอกแผล ฝี แก้กำเดา ดอก ขับโลหิต

#สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช #ชื่อพฤกษศาสตร์ใหม่
ที่มา/ภาพ – สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand

สรรพคุณทางยาของ “ผักหวานบ้าน”

ผักหวานบ้าน เป็นผักที่มีรสหวานเย็น จึงช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกายได้ รากใช้ต้มกับน้ำดื่มและอาบ ช่วยแก้ซาง พิษซาง ต้นและใบใช้ตำผสมกับสารหนู

คนไทยเมื่ออดีตใช้ ต้นและใบ ผักหวานบ้านตำผสมกับรากอบเชยใช้เป็นยาพอกรักษาแผลในจมูก ตำรับยาหมอพื้นบ้านบางพื้นที่ใช้รากเข้าตำรับยาฝนแก้อาการเจ็บในปาก ปากเหม็น ผักหวานบ้านเป็นผักที่มีรสหวานเย็น จึงช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกายได้

รากใช้ต้มกับน้ำดื่มและอาบ ช่วยแก้ซาง พิษซาง ต้นและใบใช้ตำผสมกับสารหนู ใช้เป็นยาทาแก้โรคผิวหนังติดเชื้อ รากและใบ นำมาตำให้ละเอียดใช้เป็นยาพอกรักษาฝี แก้แผลฝี เป็นต้น.