ไม่มีอะไร จะเป็นเครื่องคุ้มกัน มากเท่ากับ…”สติ”

3400
views

พระอรหันต์ เป็นผู้มี “สติ” ทุกเมื่อ ทุกกรณี ทุกสถานที่

“พระอรหันต์” จะเห็นรูป จะฟังเสียง จะดมกลิ่น จะลิ้มรส จะสัมผัส อะไรก็ตาม เหมือนที่คนธรรมดาเขาสัมผัสนั่นแหละ!

แต่…ไม่มีผลเหมือนกัน

พระพุทธเจ้า

คือไม่ได้ยึดถือ มันกระเด็นกลับออกไปเพียงแค่ผัสสะ มันไม่ปรุงเป็นเวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ มันจึงต่างกับเราที่เป็น”ปุถุชน” อะไรเข้ามามันก็รับเอาเข้ามา มันไม่กระเด็นกลับออกไป

เพราะฉะนั้น มันจึงไม่เป็นเพียงผัสสะ มันจึงเป็นเวทนาขึ้นมา เป็นตัณหาขึ้นมาทเป็นอุปาทานขึ้นมา เป็นชาติ ภพ ขึ้นมา และเป็นทุกข์ นี่คือวุ่นและเป็นทุกข์

เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ ถ้าฟังถูก เข้าใจ ก็จะพบเห็นได้ด้วยตนเองว่า สิ่งที่จะช่วยให้เรา”ว่าง”อยู่เสมอได้ ก็คือ “สติ” นั่นเอง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต”

คำว่า สโต แปลว่า ผู้มีสติ

สทา แปลว่า ทุกเมื่อ

สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ แปลว่า เธอจงเป็นผู้มีสติ มองเห็นโลกโดยความเป็นของว่างทุกเมื่อเถิด โมฆราช “(คนที่ถามชื่อโมฆราช)

คำว่า “สติ” คำเดียวนี้ อย่าไปดูถูก มีพระพุทธภาษิตว่า “สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา ” แปลว่าสติเป็นสิ่งจําปรารถนาทุกกรณี

สติ แปลว่า สติ, ปตฺถิยา แปลว่า อันบุคคลพึงปรารถนา, สพฺพตฺถ แปลว่า ในทุกกรณี ในทุกเวลา ในทุกสถานที่, สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา จำไว้ให้แม่นๆ สตินี้เป็นสิ่งจําประสงค์ทุกเมื่อ ทุกกรณี ทุกสถานที่

ถ้าสติที่ถูกต้องสมบูรณ์เพียงพอมีอยู่แล้ว มันก็ไม่ให้สิ่งที่มากระทบนั้นปรุงแต่งจิตใจได้ มาทางตาก็กระเด็นออกไป มาทางหูก็กระเด็นออกไป มาทางจมูกก็กระเด็นออกไป ฯลฯ

หมายความว่า พอตาเรามองเห็นสิ่งใดที่เคยทำให้เรารัก สติก็มาทันท่วงที ทำให้เราเฉยอยู่ได้ ไม่หลงรัก สิ่งที่เคยมาทำให้เราเกลียด โกรธ ร้อน ฯลฯ เราก็ไม่เกลียด ไม่โกรธ ไม่ร้อน ฯลฯ แม้ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ฯลฯ ก็เหมือนกัน

แม้ที่สุดแต่โดยทางที่ใจมันจะคิดขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องมี ตา หู ฯ ทำงาน บางเวลาใจเราคิดนึกไปเอง คิดนึกไปทางไหนทำให้ใจเกิดความรักขึ้นมา คิดนึกไปทางไหนทำให้ใจเกิดความเกลียดขึ้นมา ต่อแต่นี้ คือเมื่อมีสติแล้ว มันก็ไม่เป็นอย่างนั้น”

พุทธทาสภิกขุ

พุทธทาสภิกขุ

ที่มา : จากหนังสือ “โอวาทท่านพุทธทาส” จัดพิมพ์โดย ชมรมพุทธรักษา

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร