Slow Life @บ้านปากนคร จิบกาแคว แลพระอาทิตย์ยามเช้า นั่งเรือยาว.. ชมหนำยอ

3935
views
บ้านปากนคร

หมู่บ้านปากนคร ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่อยากให้ทุกท่านมาเยี่ยมชมกันให้ได้ ด้วยวิถีชีวิตของชาวบ้านปากนครซึ่งล้วนแล้วแต่ประกอบอาชีพชาวประมงกันทั้งนั้น ดูพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้า ดูธรรมชาติ ที่อยากชวนให้มาสัมผัสก็คือการเป็นลูกชาวเลกัน

บ้านปากนคร

โดยต้องบอกก่อนว่าบ้านปากนครเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่มีประวัติที่ยาวนานไม่แพ้ที่ไหนในนครศรีธรรมราชเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีคลองปากนครเป็นแม่น้ำสายสำคัญของที่นี่อีกด้วย

บ้านปากนคร

ใครที่อยากมาใช้ชีวิต Slow Life แบบชาวเล ซึ่งมีทั้งการนั่งเรือชมแหล่งหาปลาของชาวประมงอย่าง หนำยอ ที่เป็นกระท่อมกลางน้ำเอาไว้ยกยอจับสัตว์น้ำ นอกจากนี้การเก็บหอยนางรมแบบสด ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนปรารถนาอยากลองกันสักครั้ง

นั่งเรือยาว.. ชมหนำยอ

ประชากรส่วนใหญ่ในอดีตนั้นประกอบอาชีพประมง เช่น ยอปีก วางอวน ดักซั่ง ราวเบ็ด เป็นต้น สาเหตุที่เรียกว่าบ้านทับเคยนั้น ก็คือมีการนำเอาลูกกุ้งตัวเล็กที่จับมาผสมกับเกลือ คนให้เข้ากันนำมาตากแดดให้แห้งแล้วนำมาบด ซึ่งตามภาษาในสมัยโบราณจะเรียกว่า “เชเคย”

สะพานตัวที ปากนคร

โดยการใช้ครกที่ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่แล้วมีสาก ลักษณะคล้ายกับกระบอกใช้ตำหรือเชกุ้งตัวเล็กๆ ที่ผสมไว้นั้นให้ละเอียด จึงเรียกว่าการ “เชเคย”

ในสมัยต่อมาใช้เครื่องบด จึงเปลี่ยนมารียกว่า “บดเคย” เมื่อมีประชากรเข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น จึงตั้งเป็นหมู่บ้าน และใช้ชื่อว่า “บ้านปากน้ำปากนคร” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ ๑ ต.ปากนคร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

บ้านปากนคร

บ้านทับเคยหรือบ้านปากนครนั้น มีแม่น้ำที่สำคัญคือ “แม่น้ำปากนคร” ที่ใช้สัญจรไปมาในการขนส่งในสมัยโบราณและบ้านเรือนส่วนใหญ่ก็อยู่ตามริมแม่น้ำทั้งสองฝั่งคลอง อย่างที่มีให้เห็นในปัจจุบัน

สะพานตัวที ปากนคร

ตามประวัติศาสตร์ในอดีตได้มีพระมหากษัตริย์ไทย ที่ได้ใช้สายน้ำแห่งนี้เป็นเส้นทางผ่าน คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ยกกองทัพเรือเข้ามาทางสายแม่น้ำปากนครากนคร เมื่อมาตีเมืองนครศรีธรรมราชในขณะนั้น

โดยกองทัพเรือของพระองค์ได้นำเรือไปตามสายน้ำปากนคร แล้วเข้าทางคลองโคกข่อย ปัจจุบันเป็น”บ้านสถิน” หมู่ที่ ๔ ต.ปากนคร ซึ่งคลองเส้นนี้จะยาวไปจดกับประตูเมืองทิศตะวันออกของเมืองนครศรีธรรมราช หรือปัจจุบันเรียกว่า “หูนบบน”

บ้านปากนคร

ส่งผลให้พรเจ้าตากสินมหาราชทรงตีเมืองนี้ได้สำเร็จ นอกจากนี้ยังมีพระมหากษัตริย์อีกพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จประพาสต้นผ่านเข้าทางคลองปากนคร แล้วผ่านไปทางคลองขุด (ปัจจุบันเป็นหมู่มี่ ๖ ต.ปากนคร) เพื่อไปออกทางคลองปากพญาหรือคลองท่าซักแล้วเสด็จขึ้นไปประทับ ณ วัดท่าโพธิ์

บ้านปากนคร

จากเหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าลุ่มน้ำปากนครสายนี้ตลอดจนบ้านทับเคยหรือบ้านปากนคร มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน ที่พวกเราควรศึกษาเรียนรู้ถึงความเป็นมา และต่อมาได้มีการปกครองแบบสภาท้องถิ่น เรียกว่า “สุขาภิบาลปากนคร”

ต่อมาได้ยกฐานะเป็น “เทศบาลตำบลปากนคร” เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ตามพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒

พ่อท่านคงวัดมุขธารา

แวะกราบไหว้พ่อท่านคง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ บนรับ ณ วัดมุขธารา ปากนคร นครศรีธรรมราช

พ่อท่านคง เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ตามตำนาน ถูกเรือชน ตอนถูกประสบเหตุมหาวาตภัย แหลมตะลุมพุก วันที่ ๒๕ ต.ค ปี ๒๕๐๕ วัดมุขธารา เรือประมงขนาดใหญ่ของนายพ้าง สุจิพงศ์ หน้าโรงสีข้าว ต้านกระแสคลื่นลมไม่ไหวได้ลอยหลุดมาแทกพระพุทธรูป (หลวงพ่อคง) วัดมุขธารา จนทำให้เศียรพระหัก

พ่อท่านรุ่น

พ่อท่านรุ่นซึ่งได้ดูแลวัดในตอนนั้น ได้ทำพิธีต่อเศียรพระ และอธิษฐานว่าถ้าจะได้อยู่วัดแห่งนี้จนสิ้นอายุไขขอให้เศียรพระติดในสภาพเดิม เมื่อชาวบ้านช่วยกันยกเศียรพระวางขึ้นบนคอ ก็ต่อติดดังเดิม โดยไม่มีการหล่อปูนแต่อย่างใด ปรากฎว่า คำอธิฐานเป็นจริง (เป็นตำนานของชาวปากนคร)

กราบสรีรสังขาร พระครูวิเศษศาสนกิจ (พ่อท่านรุ่น) เกจิแห่งลุ่มน้ำปากนคร ละสังขารสรีรไม่เน่าเปื่อยเหมือนคนนอนปกติ มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ ๒๕๕๐