๑๐ ข้อปฏิบัติง่ายๆคุณก็สามารถทำบุญได้ทุกวัน ทำแล้วเสริมดวงชีวิตรุ่งเรือง

2943
views
ทำบุญได้ทุกวัน

การทำบุญ นั้น พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้อย่างสั้นที่สุดว่ามี ๓ คือ บุญกิริยาวัตถุ ๓ อันได้แก่ ทาน ศีล และ ภาวนา เราสามารถทำบุญได้ทุกโอกาสและตลอดเวลา โดยวิธีการทำบุญเป็นการขูดเกลา ขจัดความเห็นแก่ตัวให้เบาบางจางหายถึงกับหมดไปในที่สุด มี ๑๐ ประการคือ

การให้ทาน

๑. การให้ทาน ประกอบด้วย ให้วัตถุสิ่งของ ให้ธรรมะ และให้อภัย สังเกตใจทุกครั้งที่มีโอกาสให้ทานว่า ให้ด้วยความเต็มใจ เปี่ยมสุขหรือมีสิ่งใดตกค้างขัดขวางอยู่บ้าง ก็สลัดออกไป

๒. การสมาทานศีล คือความตั้งใจที่จะงดเว้นจากการกระทำที่เบียดเบียนตนเอง และเบียดเบียนผู้อื่น เพราะเห็นโทษของการกระทำนั้นๆและเต็มใจสลัดขัดเกลาอย่างเต็มสติกำลัง

๓. การภาวนา คือการเฝ้าระวังรักษาใจมิให้เผลอไผลสร้างตัวตนขึ้นมาก่อทุกข์ เพราะเกิดความรู้สึกตัวตนครั้งหนึ่ง กระบวนการเกิดทุกข์ยกโขยงมาทั้งขบวน เมื่อใจไม่ต้องแบกตัวตน ก็กลายเป็นใจเบา หรือเบาใจนี้แหละคือใจในขณะที่ว่างจากตัวตน

ความอ่อนน้อมถ่อมตน

๔. ความอ่อนน้อมถ่อมตน การแสดงความอ่อนโยนหรือ อ่อนน้อมถ่อมตนที่แท้คือวิธีการลดตัวตนชนิดหนึ่ง การทำบุญที่ง่ายที่สุด ได้ผลมากไม่แพ้วิธีอื่นๆก็คือการอ่อน้อมถ่อมตนนี้เอง

๕. เต็มใจช่วยเหลือผู้อื่น งานที่เรียกกันว่างานอาสาสมัคร ที่คนทำกันอยู่โดยทั่วไป หรือ การรวมกลุ่มกันบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม ชุมชนใดๆโดยไม่รับสิ่งใดๆตอบแทน

 พระวิมลรัตนาภรณ์

๖. การแสดงธรรม การที่พระสงฆ์แสดงธรรมก็ดี การที่ใครๆแม้มิใช่เป็นพระสงฆ์แต่มีเจตน์จำนง มีความปรารถนาดีในการบอกทางชีวิตดีๆให้แก่เพื่อนผู้ต่างการชี้ทางล้วนเป็น การแสดงธรรม

๗. การฟังธรรม การตั้งใจฟังธรรมจากพระสงฆ์ที่แสดงธรรม การฟังธรรมจากสื่อธรรม เพื่อเพิ่มความรู้ทางชีวิตที่ถูกต้อง ล้วนเป็นการทำบุญ ที่จะก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขทั้งนั้น

๘. การมอบความดีให้แก่กันและกัน เมื่อได้สร้างความดีอย่างใดแล้ว ตั้งใจเผื่อแผ่ความดีนั้นไปให้แก่ผู้อื่นด้วยการตั้งความปรารถนาดีแก่บุคคล ทั้งที่เป็นที่รักและที่เคยเกลียดชัง ให้สิ่งเหล่านั้หายขาดเลิกแล้วต่อกัน วางใจเป็นกลาง

การพลอยยินดีกับผู้อื่น

๙. การพลอยยินดีกับผู้อื่น เมื่อเห็นว่าพวกเขาทำความดี เป็นการสร้างกำลังใจให้แก่สังคม สลายความอิจฉาจากใจ ไม่ตกนรก นั่งนอนเป็นสุข แค่นั้นก็เห็นสวรรค์อยู่ตรงหน้า

๑๐. ทำความเห็นให้ตรง เมื่อใดใช้สติพิจารณา กิจกรรมที่ผ่านมาในชีวิตแล้ว ทบทวนว่า สิ่งใดดีควรจะเพิ่มเติม และหากพบว่าสิ่งใดไม่ดี ไม่เป็นประโยชน์มีแต่โทษเจือปน ต้องตัดใจขจัดออกไปอย่างตรงไปตรงมาไม่ปล่อยให้ค้างคาชีวิต

“เมื่อได้ทราบวิธีการทำบุญที่ทำแล้วได้บุญและยังลงทุนน้อยใครมีความพร้อมหรือสะดวกแบบไหนก็ทำไปแบบนั้น การทำบุญถ้าทำด้วยความจริงใจ ตั้งใจ เต็มใจ ก็ล้วนเป็นบุญทั้งนั้น ทำบุญมากเท่าไรความสุขก็เกิดขึ้นมากเท่านั้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย การสะสมบุญนำสุขมาให้”