พ่อท่านพวย วัดหัวลำภู หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

7178
views
พ่อท่านพวย วัดหัวลำภู

เกียรติประวัติ พระอธิการพวย องคมุนี พ่อท่านพวย อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวลำภู

เป็นบุตร นาย สีนวล นางฉิม เกิดวันอังคาร เดือน ๕ ปีเถาะ ที่บ้านหัวลำภู ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๑๐ ปี ฉลู อายุ ๗๑ ปี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกันตามลำดับ ๑. นางสุ่น ๒. นายแดง ๓. พระอธิการพวย ๔. นายทรัพย์ ๕. นางยวน ๖. นายบัวแก้ว ๗. นางฟัก ๘. นางคลาย ๙. นางหมุก ๑๐. นายวัด

พระอธิการพวย องคมุนี

เมื่อเยาวัยได้ศึกษาเล่าเรียนที่วัดหัวลำภู ครั้นอายุครบตามกำหนดได้บรรพชาเป็นพระภิกษุ กับพระอุปัชฌาย์ พระครูพนังศีลวิสุทธิพุทธภักดี (หวาน) วัดศาลาแก้ว ตำบลหัวไทร และได้จำพรรษาที่วัดหัวลำภูจนกระทั่งได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อจากหลวงพ่อสุข

ขณะที่ได้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ได้พัฒนาบูรณวัดให้ดีขึ้น มีการตกแต่งปรับปรุง ปลูกต้นไม้ต่างๆ ขุดสระน้ำ ปลูกสร้างกุฏิ ก่อสร้าง อุโบสถ และศาลาการเปรียญ ดังที่ปรากฏอยู่ในขณะสงฆ์นี้ นอกจากนี้ได้รับการอบรมแนะนำให้การศึกษา แก่บรรดาศิษย์วัด ได้มีความรู้ในอักษรศาสตร์ และทางศาสนา

จนบวชเรียนมีความรู้กันเป็นจำนวนมากตลอดมา เป็นที่เคารพสักการะของปรชาชนทั่วไป จนกระทั่งได้ถึงแก่มรณะภาพเมื่ออายุได้ ๗๑ ปี เนื่องด้วยเป็นพระภิกษุสงฆ์ ที่บวชมาช้านาน และได้บำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ แนะนำอบรมประชาชน และบรรดาศิษยานุศิษย์ ให้เป็นคนดีมีศีลธรรม เป็นที่เคารพของประชาชนทั่วไป

เมื่อได้ถึงแก่มรณะภาพแล้ว ประชาชนต่างได้พร้อมใจกันจัดการปั้นรูปของท่านขึ้น เพื่อไว้ศักการะบูชา เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที ดังที่ปรากฏอยู่ขณะนี้ ที่สุดเห็นว่าสมควรจัดศาลาขึ้นสักหลัง เพื่อเป็นที่ไว้รูปปั้นของท่าน และรูปจำลองของ หลวงพ่อทวด (ท่านพะโค๊ะ ) ซึ่งประชาชนเคารพนับถือด้วย

พ่อท่านพวย วัดหัวลำภู

ศาลานี้เรียกว่า ศาลา องคมุนี ให้ตรงกับฉายา กับพระอธิการพวย เพื่อที่ระลึกแก่บรรดาประชาชนสืบไป จึงได้นำเดินการหาทุน โดยการทอดกฐินและการทอดผ้าป่า ด้วยความสามัคคีเลื่อมใส ของประชาชน จนกระทั่งเสร็จเรียบร้อย และพิธีสมโภชน์ฉลองกันในวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันที่ ๑๓ เดือน พฤษภาคม ๒๕๒๒

ประวัติพระพ่อท่านพวย วัดหัวลำภู จาก ตาโชติ ชาวบ้าน หัวลำภู เล่าว่าการหาว่านมาทำพระเครื่องรุ่นแรก จัดสร้างโดย พ่อท่านเคล้า วัดหัวลำภู ต้องการว่าน ๑๐๘ และดำเนินการจัดหาว่านในครั้งนั้นจัดหากันเกือบสองเดือน เพราะว่านแต่ละอย่างจะหายากมาก

แต่จะมีชาวบ้านร่วมเดินทางไปหาว่านกับพ่อท่านเคล้าด้วย แต่มีคนบางกลุ่มบอกกับหลวงพ่อว่า อย่าหาว่านให้ครบเลยพ่อท่าน หาว่าน แค่ ๑๐๗ ก็พอแหละ ถ้าหาครบเดี๋ยวมันจะบ้าเสียแหละ แต่พ่อท่านก็ไม่สนใจ แต่ตอบกลับไปว่าถ้าหาว่านไม่ครบ ๑๐๘ หาไปทำอะไร หาแล้วก็ต้องหาให้ครบ ทำพระชุดนี้ต้องทำให้ดีต้องทำให้ขลัง หลังจากนั้นพอหาว่านได้ครบพ่อท่านก็นำไปตากแห้ง

เสร็จแล้วก็ไห้ชาวบ้านและพระลูกวัดช่วยกันตำให้เป็นผงนำไปร่อนเอาผงว่าน แล้วนำเอาผงว่านไปผสมกับน้ำ พุทธมนต์ ปั้นเป็นก้อนแล้วยัดลงไปในเบ้า แล้วเคาะออกมานำไปตากแดดให้แห้งแล้วนำไปเคลือบชะแล็ก เสร็จแล้วก็นำไปปลุกเสก กำหนดปลุกเสก ๓ วัน

โดยมีเกจิอาจารย์มากมาย แต่ที่ ตาโชติ แกจำได้ว่า มี พ่อท่านจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ มาลงพิมพ์ให้ก่อน ๒-๓ พิมพ์ เบ้าพระชุดนี้จะมีเกือบ ๑๐ เบ้า

พ่อท่านพวย วัดหัวลำภู

เพราะช่วยกันทำหลายคน ขนาดของพระจะไม่เท่ากันแต่จะแบ่งได้ ๓ ขนาด ใหญ่ กลาง เล็ก (ขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ) จำนวนของพระชุดนี้บอกไม่ได้ว่าจำนวนเท่าไรเพราะจะทำจน หมดว่านที่นำมาผสม และปีที่สร้าง พ.ศ. ๒๕…กว่าๆ แต่ระบุ พ.ศ. จริงๆไม่ได้

ลักษณะพระเนื้อว่านรุ่นแรก สีเนื้อจะไม่เหมือนกันทุกองค์ บางองค์ก็ออกสีแดงเข้ม บางองค์ก็แดงจางๆอมขาว บางองค์เคลือบชะแล็กแต่บางองค์ก็ไม่เคลือบชะแล็ก

ความเข้มของเนื้อพระจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่ที่การผสมของว่าน และไม่มียุคแรกยุคหลัง บางองค์ก็มีรอยกดของนิ้วมือยุบลงไป บางองค์ด้านหลังก็อูมขึ้นมา เกิดจากความแห้งของเนื้อพระ และพระว่านรุ่นนี้จะมีเนื้อดินสอพองด้วยเคลือบชะแล็กจำนวนไม่เกิน ๑๐๐ องค์ พระรุ่นสอง ลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม เนื้อผงสีขาว

ด้านหน้าเขียนว่าหลวงพ่อพวย องคมุนี ด้านหลังมียันต์ห้า เขียนว่า วัดหัวลำภู อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช มี ๓ พิมพ์ ๑. สี่เหลี่ยมสีขาว เนื้อผง ๒. สีแดงรูปพัต เนื้อผง ๓. สีดำ เนื้อผง ลักษณะคล้ายเนื้อว่าน รุ่นแรก นี้เป็นคำบอกเล่าจาก ตาโชติ ชาวบ้านหัวลำภู และไม่มีประวัติบันทึกการทำพระเครื่องรุ่นแรกของพ่อท่านพวยไว้แน่ชัด

และการทำประวัติในครั้งนี้ จุดประสงค์ก็แค่อยากจะเผยแพร่ ให้คนรุ่นหลัง หรือลูกหลานหลวงพ่อพวย ไว้ศึกษาจนถึงลูกถึงหลานจดจำพระเครื่องรุ่นนี้ไว้ ถึงแม้ราคาพระชุดนี้ไม่ค่อยมีตามท้องตลาดตามวงการ แต่ราคาทางใจสูง นะคับ การบันทึกประวัติในครั้งนี้ ผิดพลาดตรงไหน แก้ไขอย่างไร ขอให้ผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

พ่อท่านพวย วัดหัวลำภู

วัตถุมงคลของพ่อท่านพวย ทีทันท่าน คือเสื้อยันต์สีแดงแห่งวัดหัวลำภู ขนาดโดนแทงกับหอกขึ้นไปยืนแทงบนยอดอกยังไม่เข้าเลย เสื้อแดงสร้างแค่ ๙ ตัวเท่านั้นเอง ทำให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้น เขียนมือทั้งผืนเลยครับ และมีรุ่นที่ ๒ พ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ มาปลุกเสกให้ครับ แต่เป็นเสื้อสกรีนมาจากโรงงาน รุ่น ๓ สำหรับพระเนื้อว่านของพ่อท่านพวยรุ่นแรก ประสบการด้านแคล้วคลาด คงทนแน่นอนครับ

เกจิยุคนั้นที่ยังไม่มรณะภาพน่าจะมาร่วมปลุกเสกด้วย และพ่อท่านพวย เป็นเกจิที่ดังมากในยุคนั้น และเป็นพระอุปชาให้พระหลายๆรูป

พระที่ยุคเดียวกันอยู่ ๓ วัด เช่น พ่อท่านครูพนัง หรือ พระครูพนังศีลวิสุทธิภักดี พ่อท่านชูเฒ่า วัดพัทธสีมา พ่อท่านพวย วัดหัวลำภู พระทั้งสามวัด ลองวิชากันเป็นประจำ เช่น พ่อท่านครูพนังส่งแตงโมให้พ่อท่านชูเฒ่า ส่งไปแล้วให้เด็กวัดไปผ่า

ผลปรากฎว่าผ่าไม่เข้า ครับ เช่นเดียวกับพ่อท่านพวย วัดหัวลำภู ส่งถั่วเขียวให้พระครูพนัง และพระครูพนังสั่งให้เด็กวัดพาไปต้ม ต้มยังไงก็ไม่สุก พระครูพนังก็พูดออกมาว่า. เอาหล่าวแหละท่านพวยทำเราแล้วหล่าว แกล้งกันตลอด ทั้งสามวัดนี้ กินกันไม่ลง วิชาแก่กล้ากันทั้งนั้น

– ขอบคุณที่มาข้อมูลครับ

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร