เตือน เฝ้าระวัง-เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 16-20 ก.ย. 63

1388
views

ตามที่ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์สภาพอากาศ ในช่วงวันที่ 16-17 ก.ย. 63 ร่องมรสุมที่พาดผ่าน ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาว จะทําให้ประเทศไทยตอนบน มีฝนลดลง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย จะมีกําลังแรงขึ้น ทําให้ภาคตะวันออกและภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนัก

ขณะนี้มีหย่อมความกดอากาศตำ่กําลังแรงบริเวณ มหาสมุทรแปซิฟิกจะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลาง และจะทวีกําลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันใน ระยะต่อไป

ซึ่งคาดว่า ในช่วงวันที่ 18-19 ก.ย. 63 พายุดังกล่าวจะเคลื่อนตัวเข้าใกล้อ่าวตังเกียและชายฝั่งประเทศ เวียดนามตอนบน ส่งผลทําให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

เตือน เฝ้าระวัง น้ำป่าไหลหลาก

กองอํานวยการน้ําแห่งชาติ ได้ประเมินปริมาณฝนคาดการณ์ จากแผนที่ฝน ONEMAP พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังภัย ดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ของ กรมทรัพยากรธรณี พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ดังนี้

1. ช่วงวันที่ 16-17ก.ย.63 เฝ้าระวังน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม บริเวณที่ลาดชันเชิงเขา จ.พะเยา น่าน เชียงใหม่ ตาก กาญจนบุรี ตราด ระนอง พังงา ตรัง และ นครศรีธรรมราช

2. ช่วงวันที่ 18-20 ก.ย. 63 เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และล้นตลิ่ง บริเวณที่ลุ่มต่ำริมลําน้ำ แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำสงคราม ลําน้ำยัง แม่น้ำมูล และน้ำท่วมขัง บริเวณ จ.พิษณุโลก น่าน อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ และ อุบลราชธานี

จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการดังนี้

1. ติดตาม เฝ้าระวัง สภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตก หนักต่อเนื่องในพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังซ้ำซาก และมีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ และแนวคันป้องกันน้ำท่วมที่ชํารุด เสื่อมสภาพ

2. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนเตรียมพร้อม ในการอพยพได้ทันท่วงที หากเกิดสถานการณ์

เตือน เฝ้าระวัง น้ำป่าไหลหลาก

3. ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ รวมทั้งเตรียมพื้นที่ ลุ่มต่ำเพื่อเป็นแก้มลิงในการหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก

4. เตรียมความพร้อมแผนเชิญเหตุรับมืออุทกภัย บุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อบูรณาการให้ความ ช่วยเหลือ และบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน

ดูต้นฉบับ >