กฏแห่งไตรลักษณ์ “ทุกขัง อนิจจัง อนันตา”

4297
views
กฏแห่งไตรลักษณ์

ทุกขัง……… ทุกสิ่งล้วนเป็นทุกข์ทนอยู่ในสภาะเดิมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา !

“ความทุกข์” แปลว่า ความรู้สึกที่ทำให้ทรมานหรือความรู้สึกที่เรารังเกียจไม่ว่าจะเกิดจากสิ่งที่เราพอใจหรือไม่พอใจก็ตาม หรือ ภาวะที่ตกต้องเป็นทาสที่ต้องถูกผูกมัดอยู่กับอะไรสักอย่าง ไม่ว่าทางใจและทางกายก็ตาม !

กฏแห่งไตรลักษณ์

สิ่งที่ร้อน คือ สิ่งที่เย็นน้อย สิ่งที่เย็น คือ สิ่งที่ร้อนน้อย………..
ความสุข คือ ความทุกข์ที่น้อย ความทุกข์ คือ ความสุขที่น้อย………..
ไม่ว่าจะความรู้สึกทางกายหรือทางใจ ถ้าจะมีก็ต้องมีทั้งสองด้าน…………
ถ้าจะไม่มีก็ต้องไม่มีทั้งสองด้าน จะมีเพียงด้านเดียวไม่ได้………..
เพราะคุณยังคงมี “ความรู้สึก” อยู่นั่นเอง !

เวียนว่ายตายเกิด

“มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ต้องใช้ชีวิตซ้ำๆ ทำอะไรซ้ำๆ อย่างไม่รู้จักเบื่อหน่ายไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ เป็นผู้ชายบ้าง ผู้หญิงบ้าง เป็นสัตว์บ้าง เทวดาบ้าง สัตว์นรกบ้าง พรหมบ้าง ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนสุดท้ายก็ยังมีการเกิดอยู่อีก ต้องเปลี่ยนภพภูมิไปเรื่อยๆ เหตุแห่งการเกิดเริ่มต้นจาก อวิชชา(ความไม่รู้/ความหลงผิด)เป็นจุดเริ่มต้น แล้วจึงทำให้มีตัณหา(ความอยาก) เมื่อมีตัณหาจึงมีอุปาทาน(ความปรุงแต่ง) ไล่ไปเรื่อยๆ อีกหลายอย่างจนทำให้เกิดเป็นภพ(ที่อยู่ของจิตวิญญาณ) แล้วทำให้มีชาติ(การเกิดของจิตวิญญาณ) ถึงได้ทำให้มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย” !

“มนุษย์เป็นเพียงเครื่องจักรมนุษย์ในโรงงานที่ชื่อว่าโลก(วัฏฏะสงสาร) เป็นเพียงฟันเฟืองที่อยู่ในเครื่องจักรยี่ห้อโลก(วัฏฏะสงสาร) ต้องเคลื่อนไหว ต้องหมุนอยู่ตลอดเวลา แม้ในเวลาหลับ ใจเราก็ยังหมุนอยู่ ต้องทำงานในโรงงานนรกนี้อย่างหลีกเลี่ยงและหยุดพักไม่ได้ เป็นฟันเฟืองที่ถูกบังคับให้หมุนอยู่ตลอด ด้วยสิ่งแวดล้อมที่พร้อมจะผลักดันเราให้หมุนอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่มีวันจบสิ้น ตราบใดที่เรายังคงไม่ยอม “หยุดหมุน” ตราบใดที่เรายังคง “ยึดติด” อยู่กับสิ่งใดๆ ทุกสิ่งก็จะผูกมัดเราเอาไว้ได้ตลอดกาล” !

กฏแห่งไตรลักษณ์
อนิจจัง…….. ทุกสิ่งไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน !

“อนิจจัง” แปลว่า ความไม่แน่นอน คาดเดาไม่ได้ ไม่มีความมั่นคงของสิ่งใดๆ !

“ความแน่นอนที่สุด ก็คือ ความไม่แน่นอน” !
“ชีวิตมนุษย์ล้วนมีกรรมเป็นของตัวเอง เราไม่ได้เกิดมาเพียงเพื่อชดใช้กรรม แต่ในเมื่อเรายังต้องเกิดก็ต้องยอมชดใช้กรรมที่ยังมีอยู่ต่อไป แต่แท้จริงไม่มีใครอยากจะทำบาป แต่เพราะถูกสิ่งที่ไม่ดีในใจเรากระตุ้นให้ทำ ทำให้หลงใหลไปตามกิเลส ทำให้อยากไปตามตัณหา แต่ไม่มีใครที่จะอยากรับกรรม แต่ในเมื่อเราเอาชนะใจตัวเองไม่ได้ ก็ต้องก้มหน้ารับกรรมกันต่อไป กฏแห่งกรรมจึงเป็นความยุติธรรมที่ไม่ยุติธรรม และถึงจะอยากจะทำอะไรให้ดี แต่ด้วยความไม่แน่นอนด้วยปัจจัยต่างๆ เลยทำให้ทุกอย่างมักไม่เป็นอย่างที่คิด” !

“ชีวิตคนเราเหมือนเดินอยู่ในทะเล ที่มีคลื่นคอยซัดอยู่ตลอดเวลา ถึงอยากจะเดินให้เป็นเส้นตรงก็ทำไม่ได้ ต้องคอยฝืนตัวเอง ทำได้บ้าง ทำไม่ได้บ้าง บางคนยอมเดินตามกระแส ปล่อยให้ตัวเองถูกพัดพาไปในทางที่ไม่ดีคอยเดินไปตามกระแสโลก ใช้ชีวิตไปตามกระแสกรรม จนทำให้ชีวิตถึงจดที่เลวร้าย บางคนพยายามฝืนกระแส ไม่ยอมเดินไปตามกระแส ใช้ชีวิตอย่างยากลำบากเพียงเพื่อไม่ให้ตัวเองถูกพัดพาไปในที่ต่ำ ยอมทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต เพื่อให้ไปในทางที่ดีให้ได้ แม้ว่าจะต้องอยู่ในกระแสอย่างยากลำบาก แต่ถ้าตราบใดที่ยังไม่ยอม “ออกจากกระแส” ก็จะต้องยอมทุกข์ทรมานหรือยอมใช้ชีวิตอย่างลำบากไม่ว่าในทางใดทางหนึ่งก็ตาม” !

กฏแห่งไตรลักษณ์

อนันตา………..
“อนันตา” แปลว่า ความไม่มีตัวตน ความไม่มีอยู่จริง ความไม่เป็นจริงของทุกสิ่ง !
“สิ่งที่เป็นความจริง……….หาไม่ได้ในจักรวาลหรือวัฏฏะสงสารนี้” !
เพราะคุณสมบัติของสิ่งที่เป็นความจริงคือ…………

กฏแห่งไตรลักษณ์

หนึ่ง……. สิ่งๆ นั้นย่อมมีแก่นสาร เพราะถ้าไม่มีแก่นสารมันย่อมเป็นเพียงสิ่งที่ถูกประกอบกันขึ้นมา
สอง……. สิ่งๆ นั้นย่อมไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมา เพราะถ้ามันถูกสร้างขึ้นมาได้ มันจะถูกสร้างขึ้นมาให้จอมปลอมยังไงก็ได้
สาม……. สิ่งๆ นั้นย่อมไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เพราะถ้ามันเปลี่ยนแปลงไปได้เรื่อยๆ มันจะมีตัวตนที่แน่นอนไม่ได้
สี่………. สิ่งๆ นั้นย่อมมีรูปร่างตัวตนที่ชี้วัดได้แน่นอน เพราะถ้ามันมีรูปร่างชี้วัดไม่ได้ มันย่อมเป็นของจริงไปไม่ได้

กฏแห่งไตรลักษณ์

“แล้วมีสิ่งใดบ้างในจักรวาลที่มีคุณสมบัติเหล่านี้………..คำตอบ ก็คือ ไม่มีอยู่เลย” !

“ทุกสิ่งแค่ถูกประกอบกันอยู่ด้วยสสารที่มีขนาดเล็กไปกว่าสิ่งนั้น แต่หาแก่นสารที่แท้จริงไม่ได้ ล้วนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลวงตาสัตว์โลกทั้งหลาย ล้วนเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ หาที่สิ้นสุดไม่ได้ และไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตนที่แน่นอนเลยทั้งสิ้น” !

“ร่างกายและสมองของมนุษย์เป็นเพียงสสารสถานะที่หนึ่งถึงสาม เป็นกายหยาบที่ทำให้เราทำอะไรได้หลายๆ อย่างในโลกมนุษย์ แต่สุดท้ายมันก็อยู่กับเราแค่ชาติเดียว ร่างกายเป็นเครื่องจองจำร่างวิญญาณ ถ้าเรายังยึดติดอยู่กับร่างกาย จะพ้นจากกามภูมิ(นรก,โลก,สวรรค์)ไปไม่ได้” !

กฏแห่งไตรลักษณ์

“วิญญาณและจิตของมนุษย์เป็นเพียงสสารสถานะที่สี่(พลังงาน) เป็นกายทิพย์ที่เราต้องอยู่กับมันและใช้มันไปตลอดกาลตราบใดที่ยังไม่อาจหลุดพ้น วิญญาณถือเป็นเครื่องจองจำ “ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์” ที่ไม่ใช่แม้แต่จิตและวิญญาณ พรหมในชั้นรูปพรหมบางตนไร้จิต พรหมในชั้นอรูปพรหมบางตนไร้กาย(ไร้ร่างวิญญาณ) มีแต่ผู้บรรลุอรหันต์ที่จะละจากจิตและวิญญาณได้อย่างสมบุรณ์ จึงทำให้พ้นไปจากรูปภูมิและอรูปภูมิ(รูปพรหม/อรูปพรหม)ได้” !

“แม้แต่กาลเวลาเองก็ไม่มีอยู่จริง เพราะว่ากาลเวลานั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้เรียกแทน การเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งเท่านั้น ดังนั้น ถ้าหากทุกสิ่งหยุดอยู่กับที่ ไม่มีการเปลี่ยแปลงใดๆ กาลเวลาก็จะไม่มีตัวตนต่อไปอีกไม่ได้” !

*ทุกภพภูมิไล่ตั้งแต่นรก,โลก,สวรรค์,พรหม,นิพพาน ล้วนถูกซ้อนทับกันอยู่ แต่อยู่ต่างมิติกัน จึงมีความหนาแน่นของสสารที่ต่างกัน สิ่งมีชีวิตจึงอยู่ได้ในพื้นที่เดียวกัน โดยไม่เดินชนกัน วิญญาณก็อยู่ในตัวมนุษย์ และวิญญาณก็อยู่ในโลก ทุกชีวิต ทุกสรรพสิ่งก็อยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเลยที่เรียกได้ว่าเป็น “ความจริง” !

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร