บทแผ่เมตตา บทสวดมนต์เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร

14729
views
อุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร

วันนี้มีบทสวดมนต์บทหนึ่งที่เพื่อนๆน่าจะรู้จักกันอย่างดี นั้นคือบทแผ่เมตตา บทสวดมนต์อุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวรที่เคยมีเวรกรรมผูกพันกันมาแต่ชาติก่อน ซึ่งการสวดมนต์แผ่เมตตาทุกวันถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและเป็นสิ่งที่เพื่อนๆควรทำกันทุกวัน เราจึงรวบรวมเอาบทแผ่เมตตามาไว้ให้เพื่อนๆได้นำไปใช้กัน ซึ่งมีให้เลือกทั้งแบบยาวและแบบสั้น สามารถเลือกกันได้ตามถนัดเลย

คนทั่วไปอาจไม่ทราบว่าการแผ่เมตตาและอุทิศบุญนี้เป็นการสร้างบุญอย่างหนึ่งตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการข้อหนึ่งที่ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้คนอื่นได้มารับบุญและโมทนาคุณความดีของเรา การแผ่บุญและส่งบุญไปให้คนอื่นนั้นเป็นการสร้างความดีเสมือนเราจุดเทียนขึ้นในความมืดแล้วเราก็ต่อเทียนไปให้ผู้อื่นโดยที่ บุญของเราก็ยังอยู่และได้ยังแสงสว่างให้เกิดขึ้นไปแก่ผู้อื่นด้วย ดังนั้นภายหลังจากการสวดมนต์ นั่งสมาธิและแผ่เมตตาแล้ว ครูบาอาจารย์มักจะให้กล่าวคำอุทิศบุญไปให้ผู้อื่นให้ครอบคลุมด้วยบท อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลว่า…

อุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร

อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

สวดมนต์ก่อนนอน

อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญฯ

หลังจากที่สวดจบแล้ว ให้หมั่นฝึกทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ ด้วยการนั่งสมาธิ การไหว้พระสวดมนต์ การน้อมพิจารณาความจริงของชีวิต เพื่อให้สภาพจิตใจมีความสะอาด สว่าง สงบ อยู่เหนือความโกรธ ความโลภ ความหลง และการเชื่อในบาปบุญคุณโทษ การมีสติปัญญาที่บริสุทธิ์ ปราศจากความอคติลำเอียง มองโลกตามความเป็นจริง