พระครูพนังศีลวิสุทธิพุทธภักดี วัดศาลาแก้ว เกจิแห่ง สายพัทธสีมา อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

7002
views
พระครูพนัง วัดศาลาแก้ว

พระครูพนังศีลวิสุทธิพุทธภักดี วัดศาลาแก้ว พระมหาเถราจารย์ยุคเก่าแห่งเมืองนครศรีธรรมราช อดีตเจ้าคณะอำเภอหัวไทร รูปแรก พ.ศ. ๒๔๔๕-๒๔๗๐

ประวัติ พระครูพนังศีลวิสุทธิ์พุทธภักดี เกิดวันพุทธ แรม ๑๕ ค่ำเดือน ๔ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๕ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๔๐๑ ในรัชสมัยพระบาสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านเป็นบุตรของนายบุญ แก้วนางพูน (ขณะนั้นยังไม่มีนามสกุลใช้) ท่านเกิดที่บ้านศาลาแก้วแขวงเบี้ยซัด(ในปีพ.ศ.๒๔๗๔ยังเป็นหมู่ที่๔ตำบลหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช) บิดามารดามีหน้าที่ทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ คน คือ

๑.พระครูพนังศีลวิสุทธิ์พุทธภักดี (หวาน)
๒.นางเล็ก
๓.นายดิษฐ์
๔.นางพลอย

พระครูพนัง วัดศาลาแก้ว

เล่ากันว่าเมื่อมารดาท่านได้ตั้งครรภ์ นางพูนมารดาได้ฝันว่ามีคนถือร่มขาวมาส่งให้เมื่อนางพูนรับเอาร่มนั้นไว้แล้วบุคคลนั้นก็จากไป ความฝันนี้หน้าจะถือว่าเป็นบุพนิมิตอันดีแก่และเป็นมงคลแก่ตัวท่านเองและบิดามารดาเพราะถ้าถือตามคำทำนายฝันที่เชื่อกันว่าท่านจะผู้ใดฝันเห็นร่มท่านจะอยู่เย็นเป็นสุขเป็นที่พึ่งพาอาศัยผู้ใหญ่รักใคร่เอ็นดูจะคิดทำงานใดๆจะประสบผลสำเร็จอย่างดี เมื่อพระครูพนังมีอายุ ๘-๙ เดือน พอรู้จักคลานและหัดพูดบิดามารดาตั้งชื่อว่าหวาน เมื่ออายุ ๙-๑๐ขวบ ได้รับการสั่งสอนให้เป็นคนดีมีมารยาทเป็นเด็กว่านอนสอนง่ายไม่ดื้อดึงเกเร อายุได้ ๑๒ ขวบ บิดามารดาได้พาไปศึกษาเล่าเรียนและวิธีโบราณกับ ท่านอาจารย์บุญทอง วัดศาลาแก้ว

ท่านได้เล่าเรียนด้วยการเอาใจใส่และปฏิบัติตามคำสั่งอาจารย์เป็นอย่างดี และมีนิสัยใจคอเยือกเย็นโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนฝูงเมื่ออายุได้ ๑๖ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรวัดศาลาแก้ว ท่านได้เล่าเรียนสวดมนต์ตั้งแต่สิบสองตำนานสวดภานยักษ์สวดพระปาติโมกข์และเทศนาเป็นทำนองก็ได้หลายกัณฑ์มีชื่อเสียงคือคาถาพันบั้นต้นบั้นปลายนับว่าหาตัวจับยากเมื่ออายุครบ ๒๐ปี ได้อุปสมบทเป็นภิกษุ ณ วัดศาลาแก้วจนได้ ๗-๘ พรรษา เผอิญเจ้าอาวาสวัดสว่างลงทางการจึงแต่งตั้งท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาแก้วรูปต่อมา ท่านได้เทศนาและสั่งสอนทายกและทายิกกาเวลากลางคืนในฤดูเข้าพรรษาเป็นประจำเกือบทุกพรรษา เป็นการปลูกฝังคุณธรรมแก่ชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อท่าน พระครูพนัง มีอายุ๓๒ปี พรรษา๑๖ นั้นท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปัชฌายะ ท่านได้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือภายในวัดและเปิดสอนนักธรรมขึ้นที่วัดศาลาแก้วด้วย มีผู้สนใจเข้าศึกษามากพอสมควรท่านมีศิษย์ยานุศิษย์มากมายและมีผู้คนเคารพนับถือมากการจัดสร้างอุโบสถ กุฏิ วิหารก็ได้รับความศรัทธาจากชาวบ้านช่วยสร้างความเจริญให้แก่วัดศาลาแก้วเป็นอย่างยิ่ง และอาจมาจากผู้เลื่อมใสศรัทธาท่านมีสาเหตุหนึ่งในการอิจฉาริษยาจนมีการเกล้าหาว่าท่านทำผิดวินัยสงฆ์ถึงขั้นจะต้องมีการสอบอธิกรณ์ในสมัยนั้นถ้าพระภิกษุผู้กระทำผิดเป็นพระผู้ใหญ่เป็นถึงพระอุปัชฌาย์จะต้องส่งตัวไปสอบสวนที่กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับ พระครูบาศรีวิชัยในภาคเหนือ ที่ต้องถูกหาว่ากระทำการช่องสุมกำลังเป็นกบฏกระทำผิดวินัยก็มีการส่งตัวไปสอบสวนชำระความที่กรุงเทพ เช่นเดียวกัน

พระครูพนังศีล

เล่ากันว่าในชั้นสอบสวนท่านปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมดว่าไม่เป็นความจริงและไม่มีพยานแน่ชัด จนฝ่ายกรรมการสงฆ์ต้องให้การพิสูจน์บริสุทธิ์ด้วยการให้ช้างแทง อันเป็นวิธีการโบราณที่ไม่สามารถหาความจริงได้ว่าผิดจริงหรือไม่ถือกันว่าถ้าช้างแทงหรือทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัสหรือถึงตายแสดงว่าผิดจริงถ้าช้างไม่ทำอันตรายใดๆแสดงว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ทำนองเดียวกันกับการพิสูจน์ความจริงในศาลไทยสมัยก่อน เช่นการให้ผู้กระทำผิดดำน้ำ เช่นนั้นเล่ากันว่ามีการขุดหลุมนั่งลงได้เพียงสะเอวปรากฏว่าขณะที่ควาญช้างบังคับให้แทงนั้นช้างไม่ยอมแทง แต่กับหมอบตรงหน้าท่านนี่เป็นพิสูจน์ครั้งแรกต่อจากนั้นกรรมการสงฆ์ผู้ชำระได้ทำการเสี่ยงทายโดยการนำผ้า สีขาว สีดำ สีเหลือง

ใส่บาตรจำนวน ๓ใบมาเพื่อเสี่ยงทายคือให้ท่านเลือกบาตรเพียง ๑ใบ ถ้าได้บาตรที่มีผ้าสีดำท่านต้องลาสิกขาบท ถ้าได้บาตรที่มีสีขาวท่านต้องถือเพศตาปะขาว ถ้าได้บาตรที่มีผ้าสีเหลืองจึงจะครองสมรเพศเป็นพระภิกษุต่อไป ปรากฏการว่าท่านเสี่ยงทายได้ผ้าสีเหลืองคณะกรรมการสงฆ์ได้ลงเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์พุทธภักดี ได้รับการแต่งตั่งให้เป็นเจ้าคณะหรือเจ้าคณะอำเภอหัวไทรด้วยเมื่อท่านได้กลับมาวัดศาลาแก้วท่านได้รับความเคารพถือศรัทธาจากประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้น และชื่อเสียงของท่านเป็นที่กล่าวขานกันทั่วไปและในด้านศักดิ์สิทธ์อีกด้วย

และเล่ากันว่า เมื่อ ๖๐-๗๑ ปีมาแล้ว มีจระเข้อาศัยอยู่ในคลองหัวไทรหลายแห่งรวมทั้งบริเวณใกล้ๆ หน้าวัดศาลาแก้วชาวเขาเล่ากันว่าจระเข้ทุกตัวที่ว่ายน้ำผ่านหน้าวัดจะต้องลอยขึ้นมาให้เห็นเป็นการแสดงความเคารพท่านพระครูพนังทุกครั้ง เด็กวัดสมัยพระครูพนังไม่กลัวจระเข้เพราะถ้าท่านบอกให้ขึ้นฝั่งทุกคนต้องเชื่อฟัง มิฉะนั้นจระเข้จะคาบไปกินได้

ท่านพระครูพนัง

ท่านพระครูพนัง มีความเกี่ยวพันกับ อธิการวัดพัทธสีมาด้านส่วนตัว ที่มีความเคารพนับถือท่านเป็นผู้อาวุโสกว่า คือท่านอธิการชูหรือพ่อท่านชูเฒ่า แห่งวัดพัทธสีมา แก่กว่าท่านพระครูพนังราว ๑๘ ปี และพรรษาก็มากกว่า เล่ากันว่ามีครั้งหนึ่งพ่อท่านชูเฒ่าได้ฝากแตงโมไปถวายพระครูพนังที่วัดศาลาแก้ว๑ลูก ท่านให้เด็กวัดผ่าแตงโมนั้นแต่ไม่สามารถผ่าได้ ไม่ว่าจะใช้มีดคมขนาดไหน ท่านจึงบอกให้เอาขวานมาผ่าดูก็ยังผ่าไม่ได้ ท่านก็ทราบว่าแตงโมนี้ไม่ใช้ธรรมดาเสียแล้วแต่เป็นแตงโมที่ใช้คาถาอาคม ท่านจึงรับแตงโมไปผ่าเองก็สามารถผ่าออกได้ยังมีคำเล่ากันอีกเรื่องหนึ่งว่าหนังตะลุงหรือมโนราห์ทุกคณะ ที่เดินทางผ่านหน้าวัดศาลาแก้วจะต้องขออนุญาต โดยการตีกลองหรือประโคมเครื่องดนตรีเป็นการบูชาทุกครั้ง มิเช่นนั้นจะต้องปวดท้องอย่างรุนแรงจะต้องมาขอขมาถึงจะผ่านไปได้จึงเป็นที่รู้จักทั่วไปของหมู่ศิลปินดนตรีทุกครั้งที่ผ่านหน้าวัดศาลาแก้ว

อ้างอิง: อุโภประโยชน์ พระหนูแก้ว
รั้งคณะหมวด พิมพ์ชำร่วยในงานศพ พระครูพนัง
วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๗๔
ประวัติพระเกจิอาจารย์เมืองนคร ข้อมูลโดยคุณปาล์มหัวไทร – ขอบคุณเจ้าของภาพ