พระครูสุนทร วัดดินดอน ลานสกา นครศรีธรรมราช

10187
views
พระครูสุนทร วัดดินดอน ลานสกา นครศรีธรรมราช

ประวัติพระครูสุนทรดิตถคณี (นาค โชติพโล) วัดดินดอน ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช

พระครูสุนทร วัดดินดอน


ภาพจาก – วัดหน้าพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช

พระครูสุนทร เดิมท่านมีชื่อว่านาค เกิดเมื่อวันเสาร์ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๐ บ้านบางชัน ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช บิดาชื่อนายศรี มารดาชื่อนางพุ่ง

ปู่ของท่านมีศักดิ์เป็นหมื่น ชื่อหมื่นเดช เป็นผู้มีฝีมือทางช่าง และการก่อสร้าง ตลอทั้งการแกะสลักลายไทย จึงได้รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ส่วนตาของท่านมีบรรดาศักดิ์เป็นขุน เป็นพราหมณ์ ที่มีความรอบรู้ในฤกษ์พิธีตลอดทั้งพิธีกรรมแต่โบราณ

สมัยที่พระครูสุนทรยังเป็นเด็ก นายศรี ซึ่งเป็นบิดาของท่านได้เดินทางมาซื้อวัวควายแถวบ้านดอน จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นประจำ ได้เกิดความเลื่อมใสต่อเจ้าอาวาสวัดบางกล้วย จึงศรัทธาขอบวชเป็นพระภิกษุจำพรรษาที่วัดบางกล้วย

ขณะนั้นท่านพระครูสุนทรมีอายุได้เพียง ๕ ขวบ และอาศัยอยู่กับมารดาที่บ้านบางชันกับน้องชายและน้องสาวอีกสองคน พอท่านอายุได้ ๖ ขวบ หมื่นศรีซึ่งเป็นปู่ ก็มาพาท่านไปสอนหนังสือที่บ้านออก วัดดินดอน พอเห็นว่า อ่านออกเขียนได้บ้างแล้ว จึงพาท่านไปถวายตัวเป็นศิษย์วัดสระเรียง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเรียนหนังสือต่อ

พระครูสุนทร วัดดินดอน

ต่อมาเมื่อพระศรี ซึ่งเป็นบิดาของพระครูสุนทรจำพรรษาที่วัดบางกล้วย จังหวัดสุราษฏร์ธานีได้ ๓ พรรษาจึงมาจำพรรษาที่วัดสระเรียง ก็ได้อยู่ปรนนิบัติพระศรีในฐานะลูกศิษย์กับอาจารย์ ส่วนพระศรีมีความซาบซึ้งในรสพระธรรมก็มิได้คิดจะลาสิกขาอีก

จึงได้บวชและศึกษาพระธรรมวินัยต่อไป จนมีความรอบรู้ในพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัยพอสมควร ต่อมาชาวบ้านจึงได้อาราธนามาเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเพียงวัดเล็ก ๆ

ไม่นานพระศรีก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ศรี ฐานานุกรมของพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออก พระครูสุนทรก็ได้เรียนหนังสือกับพระสมุห์ศรี ตลอดทั้งอักขระสมัยและวิชาการต่าง ๆ จนมีความรู้พอสมควร พอถึง พ.ศ. ๒๔๓๕

ท่านมีอายุได้ ๑๕ ปี ญาติ ๆ จึงพาไปทำพิธีโกนจุกที่วัดขัน แล้วก็บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดขันแห่งนี้ จากนั้นก็ย้ายไปจำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุอยู่กับพระสมุห์ศรีผู้เป็นบิดา บรรพชาเป็นสามเณรได้หนึ่งพรรษาก็ลาสิกขาออกมา

เมื่อถึง ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ พระสมุห์ศรีได้เดินทางเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพ จึงได้พาพระครูสุนทรขึ้นมาด้วย โดยฝากให้พระอาจารย์แผ้ง เป็นผู้ดูแลวัดหน้าพระบรมธาตุแทน

ท่านพระครูสุนทร วัดดินดอน

เมื่อถึงกรุงเทพฯ แล้วพระสมุห์ศรีได้จำพรรษาและเรียนอยู่ที่วัดมหาธาตุ ส่วนพระครูสุนทรตอนนั้นอายุได้ ๑๖ ปีได้ไปสมัครเรียนหนังสือแบบใหม่ที่วัดมกุฏิกษัตยาราม แต่เรียนอยู่ได้เพียงปีเดียวก็ลาพระสมุห์ศรีกลับเมืองนครศรีธรรมราช ฝ่ายพระสมุห์ศรีเรียนอยู่ที่วัดมหาธาตุ อยู่ได้ ๔ ปี ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

จึงเดินทางกลับนครศรีธรรมราช และเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุเหมือนเดิม เมื่อพระครูกาแก้ว วัดสวนหลวงออกได้ถึงแก่มรณภาพ พระสมุห์ศรีจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูกาแก้ว ส่วนพระครูสุนทรซึ่งขณะนั้นอายุครบบวช จึงเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่จัดสวนหลวงตก ได้นามฉายาว่า โชติพโล

อุปสมบทแล้วท่านก็มาจำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุกับพระครูกาแก้ว (ศรี) ผู้เป็นโยมบิดา ศึกษาพระธรรมวินัยกับหัดเทศน์มหาชาติจนชำนาญ และมีชื่อเสียงในเมืองนครฯ พอพรรษาที่สาม จึงเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ

เมื่อมีความรู้พอสมควรแล้วจึงเดินทางกลับนครศรีธรรมราช โดยจำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุ และได้รับการแต่งตั้งเป็นพระปลัด ฐานานุกรมของพระครูกาแก้ว (ศรี)

พระครูสุนทร วัดดินดอน

ต่อมาในปี ๒๔๕๘ พระใบฏีกาหมุ้น วัดหน้าพระลาน ซึ่งเป็นพระฐานานุกรมของพระครูกาแก้ว (ศรี) ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของพระครูกา แก้ว (ศรี) ซึ่งชราภาพ รุ่งขึ้นถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ พระครูกาแก้ว (ศรี) ก็มรณภาพขณะที่มีอายุ ๗๐ ปี เสร็จจากงานพระราชทานเพลิงศพแล้ว

พระใบฏีกาหมุ้นได้รับแต่งตั้งเป็นพระปลัด ฐานานุกรมของพระญาณเวที (ลือ) วัดพระเดิม พระสงฆ์ในวัดหน้าพระบรมธาตุรวมทั้งพระครูสุนทร จึงได้พร้อมใจกันนิมนต์พระปลัดหมุ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าพระบรมธาตุ สืบต่อมา

ต่อมาพระปลัดหมุ้นได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูกาแก้ว (ต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช นับเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดท่านหนึงของภาคใต้ และเป็น ๑ ใน ๑๐๘ พระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมลุกเสกวัตถุมงคลที่วัดราชบพิธ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ด้วย) ระหว่างนั้นพระครูสุนทรยังเป็นพระปลัด

ท่านได้ช่วยพระครูกาแก้ว (หมุ้น) บริหารการปกครองและการศึกษาอยู่วัดหน้าพระบรมธาตุด้วยอีกหลายปี ราวปี พ.ศ. ๒๔๗๒ พระอุปัชฌาย์เกลี้ยง เจ้าอาวาสวัดดินดอน ได้มรณภาพลง ชาวบ้านละแวกวัดได้เดินทางมานิมนต์พระครูสุนทรซึ่งขณะนั้นเป็นพระปลัดนาค ไปปกครองวัดดินดอน

พระครูสุนทรดิตถคณี (นาค โชติพโล) วัดดินดอน

ประวัติ วัดดินดอน ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าดี อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นวัดที่ตั้งขึ้นมาในสมัยรัตนโกสินทร์ราวแผ่นดินรัชกาลที่ ๓ โดยชาวบ้านท่าดีร่วมกันสร้าง เพื่อใช้เป็นสถานที่ ประกอบบุญทางพระศาสนา

เจ้าอาวาสและพระสงฆ์วัดดินดอนส่วนมากจึงเป็นบรรพบุรุษของชาวท่าดี และเป็นเครือญาติกัน ในอดีตมีเจ้าอาวาสวัดดินดอนรูปหนึ่งชื่อปาน เป็นพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคม มีพลังจิตและตบะแก่กล้า มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือกันอย่างมาก

เมื่อสมภารปานมรณภาพแล้ว ชาวบ้านที่ศรัทธา ได้สร้างสถูปเพื่อบรรจุอัฐิไว้เป็นที่สักการะบูชา สำหรับสถูปที่บรรจุอัฐิพระสงฆ์แบบนี้ทางภาคใต้เรียกว่าบัวชาวบ้านต่อมาจึง เรียกสมภารปานว่า พ่อท่านในบัว และนับถือสถูปหรือบัวที่บรรจุอัฐิของท่าน

เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มาจนกระทั่งทุกวันนี้ ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของพ่อท่านในบัวก็เคยแสดงอภินิหารให้ชาวบ้านได้พบเห็น กันบ่อยๆ ใครมีเรื่องเดือดร้อนหรือทุกข์ยากอะไร ก็จะพากันมากราบไหว้ขอความช่วยเหลือจากพ่อท่านในบัวอยู่เสมอ ๆ

พระครูสุนทร วัดดินดอน

ท่านจึงได้รักษาการอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดินดอน พอปีถัดมา พ.ศ. ๒๔๗๖ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะหมวด พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้เป็นกรรมการศึกษาฝ่ายสงฆ์พอถึงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูสุนทรดิตถคณี เมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูสุนทร วัดดินดอน นอกจากจะมีความรู้ทางด้านพระปริยัติธรรมและการบริหารการปกครอง ท่านยังรอบรู้ในวิทยาคมและเชี่ยวชาญวิปัสสนากรรมฐานท่านหนึ่งของเมืองนครศรี ธรรมราชในยุคนั้น ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

และก็สร้างมาเรื่อย ๆ ตามแต่จะมีโอกาสจนกระทั่งมรณภาพ วัตถุมงคลของท่านมีหลายชนิด เช่น รูปเหมือน พระเครื่องเนื้อดินเผา เครื่องรางของขลัง ตะกรุด ผ้ายันต์ และลูกอมเป็นต้น แต่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับท่านมากที่สุดก็คือ……เครื่องรางของขลังเชือกคาดเอวพระครูสุนทร วัดดินดอน

พระครูสุนทรเรียนวิชาสร้างเชือกคาดเอวมาจากพระครูกาแก้ว(ศรี) ผู้เป็นบิดา ส่วนพระครูกาแก้ว (ศรี) นั้นก็เรียนวิชาการสร้างเชือกคาดเอวมาจากเจ้าอาวาสวัดบางกล้วย จังหวัดสุราษฏร์ธานี เชือกคาดเอวของพระครูสุนทร

ลักษณะจะไม่เหมือนเชือกคาดเอวของพระเกจิอาจารย์ ภาคใต้ยุคหลัง ๆ อย่างเชือกคาดเอวของพ่อท่านเขียว วัดหรงบน พ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ พ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ และพระเกจิอาจารย์สายใต้ท่านอื่น ๆ ที่เอาผ้ามาลงอักขระแล้วถักหุ้มกับเชือกเป็นเส้นยาว

วัดดินดอน ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

แต่เชือกคาดเอวของพระครูสุนทร ท่านจัดเอาผ้ามาฉีกเป็นริ้วยาวๆ หลายเส้น แล้วลงอักขระไปตามแนวยาวของริ้วผ้า เวลาถักก็จะขมวดส่วนหัวก่อน จากนั้นก็ถักเป็นเกลียวไปจนตลอดถึงส่วนหางก็ขมวดปมอีกปมหนึ่ง เวลาถักเชือกก็จะบริการรมคาถาไปพร้อม ๆ กันเมื่อขมวดส่นปมของหางเสร็จก็จะให้พร้อมกับภาวนาคาถาจบพอดี

เชือกคาดเอวพระครูสุนทรท่านทำแจกมาตั้งแต่ยังจำพรรษาที่วัดหน้าพระบรมธาตุ เมื่อท่านย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดินดอนแล้วก็มีชาวบ้านมาขอเชือกคาดเอวกับ ท่านเรื่อย ๆ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ครั้งที่เกิดสงครามอินโดจีน จอมพล ป. พิบูลสงครามนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ทำหนังสือขอพระเครื่องไปยังวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ

เพื่อนำมาแจกทหารที่ไปรบสงครามครั้งนั้นได้มีวัดต่างๆ นำพระเครื่องเก่าๆ ที่บรรจุกรุออกมามอบให้กับรัฐบาลกันหลายวัด ส่วนวัดที่ไม่มีพระเครื่องไทยเก่า ๆ เก็บเอาไว้ ก็จะทำพิธีปลุกเสกพระเครื่องขึ้นมาเพื่อแจกทหารไปรบโดยเฉพาะ

ส่วนพระครูสุนทร ท่านได้ทำเชือกคาดเองขึ้นมาจำนวนหลายเส้น แล้วก็มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำไปมอบให้กับรัฐบาลและส่งให้ทหารที่ไปรบในสงครามต่อไป ซึ่งเชือกคาดเอวของพระครูสุนทรก็มีประสปการณ์ในสงครามครั้งนั้นมาก ปากต่อปากก็เล่าต่อ ๆ กันไป จนทุกวันนี้เชือกคาดเอวของท่านก็ยังเป็นที่เสาะหาของคนเมืองนครกันอย่างยิ่ง และก็หาไม่ได้ง่าย ๆ

– ข้อมูล tumsrivichai.com

  ถมนคร เครื่องถมเมืองนคร